ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. พลวรรค ๕. ทัฏฐัพพสูตร

๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่พึงเห็น
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ ๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ ๕. ปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธาพละได้ที่ไหน พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ๑- พึงเห็นสัทธาพละได้ที่นี้ พึงเห็นวิริยพละได้ที่ไหน พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔ ๒- พึงเห็นวิริยพละได้ที่นี้ พึงเห็นสติพละได้ที่ไหน พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ ๓- พึงเห็นสติพละได้ที่นี้ พึงเห็นสมาธิพละได้ที่ไหน @เชิงอรรถ : @ โสตาปัตติยังคะ (องค์เครื่องบรรลุโสดา) เป็นคุณสมบัติของพระโสดาบัน ๔ ประการ @ดู สํ.ม. ๑๙/๑๐๑๓/๓๑๕, ขุ.ป. ๓๑/๑๙๔/๒๒๗, ๑๙๕/๒๒๘, ๑๙๖/๒๓๐ @ สัมมัปปธาน ๔ ประการ คือ (๑) สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลธรรมมิให้เกิดขึ้น (๒) ปหานปธาน @เพียรกำจัดบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (๓) ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น @(๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕/๕) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๘, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๙/๑๑๓-๑๑๔, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๓๙๐/๓๒๘, ๔๐๘/๓๓๓, ๔๒๗/๓๓๘ @ สติปัฏฐาน ๔ ประการ คือ (๑) กายานุปัสสนา (๒) เวทนานุปัสสนา (๓) จิตตานุปัสสนา (๔) ธัมมานุปัสสนา @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕/๕) และดู ที.ม. ๑๐/๒๘๙/๑๘๕-๑๘๖, ๓๗๒-๓๗๔/๒๔๘, @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๔/๓๙๐, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๓๕๕/๓๐๖, ๓๗๔/๓๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. พลวรรค ๖. ปุนกูฏสูตร

พึงเห็นได้ในฌาน ๔ ๑- พึงเห็นสมาธิพละได้ที่นี้ พึงเห็นปัญญาพละได้ที่ไหน พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ ๒- พึงเห็นปัญญาพละได้ที่นี้ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปุนกูฏสูตร
ว่าด้วยกำลังที่เป็นยอด
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ ๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ ๕. ปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวม แห่งพละ ๕ ประการนี้ คือปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้ คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ปุนกูฏสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ฌาน หมายถึง ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกกัคคตา ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข @เอกกัคคตา ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกกัคคตา และ จุตตถฌาน มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา @(ม.มู. ๑๒/๘๒/๕๔-๕๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๖๒๓/๔๑๓) @ ดู วิ.ม. ๔/๑๔-๑๕/๑๔-๑๕, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๗-๓๖๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๘๙/๑๖๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๙-๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=234&Z=245                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=15              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=15&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=89              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=15&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=89                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i011-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an5.15/en/sujato https://suttacentral.net/an5.15/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :