ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร

๘. ราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา
[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลาย เคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระ ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระราชาจับเขาแล้ว ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการฆ่า สัตว์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั้นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ฆ่าบุรุษหรือสตรี ต่อมาพระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ’ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ ลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นเหตุ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร

ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการ ลักทรัพย์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเอง ปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ลักทรัพย์ เขามาจากบ้านหรือจากป่า พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำ ตามพระราชประสงค์ เพราะการลักทรัพย์เป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระ ราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พระราชา จับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้น จากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาวของผู้อื่น พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาด จากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นเหตุ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้ว ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูด เท็จเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ทำลายประโยชน์ ของคหบดี หรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการพูดเท็จเป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคย ได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟังมาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้ว ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพ ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ ทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท แล้วฆ่าหญิงหรือชาย คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ แห่งความประมาทแล้วลักทรัพย์จากบ้านหรือป่า คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร

คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาว ของผู้อื่น คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทแล้วทำลายประโยชน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระ ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ เธอทั้งหลาย เคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟังมาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
ราชสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๙๖-๒๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=178              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=4844&Z=4921                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=178              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=178&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1528              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=178&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1528                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i171-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an5.178/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :