ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. อาหุเนยยวรรค ๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อาหุเนยยวรรค
หมวดว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล
๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๑
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน ยอดเยี่ยมของโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร

ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ๑- มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๒. ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ๓. ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ๔. ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ ๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ- สัมปชัญญะอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน ยอดเยี่ยมของโลก เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค
ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร๒-
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๒
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ @เชิงอรรถ : @ ไม่ดีใจ หมายถึงไม่กำหนัดยินดีในอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา) @ไม่เสียใจ หมายถึงไม่ขัดเคืองในอนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) สูตรนี้ตรัสถึงธรรมที่เป็น @คุณสมบัติของพระขีณาสพ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑/๙๕) @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๖/๒๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๑๑-๔๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=252              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=6618&Z=6635                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=272              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=272&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2108              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=272&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2108                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i272-e.php# https://suttacentral.net/an6.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :