ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๙. สีติวรรค ๔. สุสสูสติสูตร

๔. สุสสูสติสูตร
ว่าด้วยการฟังด้วยดี
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ ๑. ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ๒. ไม่เงี่ยโสตสดับ ๓. ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ ๔. ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๕. ทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๖. ประกอบด้วยอนนุโลมิกขันติ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจเพื่อ ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ ๑. ตั้งใจฟังด้วยดี ๒. เงี่ยโสตสดับ ๓. ตั้งใจใฝ่รู้ ๔. ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๙. สีติวรรค ๕. อัปปหายสูตร

๕. ทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๖. ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ๑- ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
สุสสูสติสูตรที่ ๔ จบ
๕. อัปปหายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลยังละไม่ได้
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง ทิฏฐิสัมปทา๒- ได้ ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา) ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต) ๔. ราคะเป็นเหตุไปสู่อบาย ๕. โทสะเป็นเหตุไปสู่อบาย ๖. โมหะเป็นเหตุไปสู่อบาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง ทิฏฐิสัมปทาได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งทิฏฐิ- สัมปทาได้ @เชิงอรรถ : @ อนุโลมิกขันติ ในที่นี้หมายถึงข้อพินิจที่เกื้อกูลแก่การบรรลุอริยสัจ ๔ หรือเหมาะแก่คำสอน @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕) ขันติ ในที่นี้หมายถึงปัญญา หรือวิปัสสนาญาณ มิใช่หมายถึงความอดทน @(เทียบ ขุ.ป. ๓๑/๓๖/๔๔๔, อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐) @ ทิฏฐิสัมปทา ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๑๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๑๓-๖๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=339              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=10260&Z=10278                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=359              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=359&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3489              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=359&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3489                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i356-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.088.than.html https://suttacentral.net/an6.88/en/sujato https://suttacentral.net/an6.88/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :