ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๙. อภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑- ๘ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ ให้ได้อารมณ์ดี๒- มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ห้วงบุญกุศล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วง บุญกุศลประการที่ ๑ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ๒. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ ที่ ๒ ฯลฯ ๓. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ ที่ ๓ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิด ในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ @เชิงอรรถ : @ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศล ซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒) @ อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. ทานวรรค ๙. อภิสันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการ๑- นี้ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความ ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน อันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทานที่รู้กันว่า ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคต ก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน นี้เป็นห้วงบุญ กุศลประการที่ ๔ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ ๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพของ มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความ ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการ ที่ ๕ เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๘/๔๓, อภิ.ก. ๓๗/๔๘๐/๒๘๙-๒๙๐ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. ทานวรรค ๑๐. ทุจจริตวิปากสูตร

ผู้รู้คัดค้าน นี้แลเป็นห้วงบุญกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ เป็นไป เพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้ อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
อภิสันทสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=112              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=5079&Z=5126                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=129              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=129&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5782              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=129&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5782                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i121-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.039.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/08/an08-030.html https://suttacentral.net/an8.39/en/sujato https://suttacentral.net/an8.39/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :