ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๙. ปริหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้พระเสขะเสื่อม๑-
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูสัตตกนิบาต ข้อ ๒๘ (ปฐมปริหานิสูตร) หน้า ๔๓-๔๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. ยมกวรรค ๑๐. กุสีตารัมภวัตถุสูตร

๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๗. ความเป็นผู้ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง ๘. ความเป็นผู้ชอบปปัญจธรรม๑- ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๗. ความเป็นผู้ไม่ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง ๘. ความเป็นผู้ไม่ชอบปปัญจธรรม ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ปริหานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. กุสีตารัมภวัตถุสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเหตุปรารภความเพียร
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ประการนี้ กุสีตวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก ต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๓๐ หน้า ๒๘๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=152              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=7043&Z=7060                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=183              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=183&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6310              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=183&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6310                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i168-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an8.79/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :