ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. สัมมาวัตตนสูตร
ว่าด้วยการประพฤติชอบ
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรม๑- แล้ว พึงประพฤติ ชอบในธรรม ๘ ประการ คือ ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๘๔ หน้า ๑๗๙-๑๘๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๖. ไม่พึงรับสมมติอะไรๆ จากสงฆ์ ๗. ไม่พึงดำรงอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าอะไรๆ ๘. ไม่พึงให้ประพฤติวุฏฐานวิธีเพราะตำแหน่งเดิมนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติชอบ ในธรรม ๘ ประการนี้แล
สัมมาวัตตนสูตรที่ ๑๐ จบ
สติวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สติสัมปชัญญสูตร ๒. ปุณณิยสูตร ๓. มูลกสูตร ๔. โจรสูตร ๕. สมณสูตร ๖. ยสสูตร ๗. ปัตตนิกุชชนสูตร ๘. อัปปสาทปเวทนียสูตร ๙. ปฏิสารณียสูตร ๑๐. สัมมาวัตตนสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. สามัญญวรรค

๕. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เหมือนกัน๑-
[๙๑-๑๑๖] โพชฌาอุบาสิกา สิริมาอุบาสิกา ปทุมาอุบาสิกา สุธัมมา อุบาสิกา มนุชาอุบาสิกา อุตตราอุบาสิกา มุตตาอุบาสิกา เขมาอุบาสิกา รุจีอุบาสิกา จุนทีราชกุมารี พิมพีอุบาสิกา สุมนาราชกุมารี มัลลิกาเทวี ติสสาอุบาสิกา ติสสมาตาอุบาสิกา โสณาอุบาสิกา โสณมาตาอุบาสิกา กาณาอุบาสิกา กาณมาตาอุบาสิกา อุตตรานันทมาตาอุบาสิกา วิสาขามิคาร- มาตาอุบาสิกา ขุชชุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา สุปวาสาโกฬิยธิดา สุปปิยาอุบาสิกา นกุลมาตาคหปตานี (๑-๒๖)
สามัญญวรรคที่ ๕ จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงวรรคที่ว่าด้วยองค์อุโบสถ ๘ เหมือนกัน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๙๑/๒๘๔) ดูความเต็มของแต่ละสูตรเทียบ @ในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๓ (วิสาขาสูตร) หน้า ๓๐๙-๓๑๒ และข้อ ๔๕ (โพชฌาสูตร) หน้า ๓๑๔-๓๑๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล

ราคเปยยาล
[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด) ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) [๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑) ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ ๒. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่ มีสีสัน ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ ๓. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ ๔. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ ๕. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ ๖. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสี เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล

๗. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ ๘. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒) [๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย ๒. ภิกษุผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ๓. ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น ๔. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหา ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ๕. ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ๖. ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ๗. ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ๘. ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓) [๑๒๐-๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล

... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืนราคะ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ ฯลฯ (๔-๓๐) [๑๔๗-๖๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ (๓๑-๕๑๐)
ราคเปยยาล จบ
อัฏฐกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๑๙-๔๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=163              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=7391&Z=7459                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=200              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=200&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6384              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=200&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6384                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i187-e.php#sutta10 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i200-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i200-02-e.php# https://suttacentral.net/an8.90/en/sujato https://suttacentral.net/an8.91-117/en/sujato https://suttacentral.net/an8.118/en/sujato https://suttacentral.net/an8.118/en/bodhi https://suttacentral.net/an8.119/en/sujato https://suttacentral.net/an8.119/en/bodhi https://suttacentral.net/an8.120/en/sujato https://suttacentral.net/an8.120/en/bodhi https://suttacentral.net/an8.121-147/en/sujato https://suttacentral.net/an8.121-147/en/bodhi https://suttacentral.net/an8.148-627/en/sujato https://suttacentral.net/an8.148-627/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :