ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๖. สิลายูปสูตร

๖. สิลายูปสูตร
ว่าด้วยจิตเปรียบด้วยเสาหิน
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระจันทิกาบุตร อยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑- เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระจันทิกาบุตร กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้น ควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่าน พระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่านจันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระจันทิกาบุตรก็กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติ สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป” @เชิงอรรถ : @ กลันทกนิวาปสถาน หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ดูรายละเอียดใน ม.มู.อ. @๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, G.P. MALALAKERA, Dictionary of Pali : Proper Names, London, Luzac @Company Ltd. 46 Great Russell Street, 1960.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๖.สิลายูปสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านพระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่าน จันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุ อบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก ต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เป็นอย่างไร คือ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิตว่า ๑. จิตของเราปราศจากราคะแล้ว ๒. จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว ๓. จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว ๔. จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา ๕. จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา ๖. จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา ๗. จิตของเราไม่กลับมาในกามภพเป็นธรรมดา ๘. จิตของเราไม่กลับมาในรูปภพเป็นธรรมดา ๙. จิตของเราไม่กลับมาในอรูปภพเป็นธรรมดา ผู้มีอายุ แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อม พิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งรูปนั้น ผู้มีอายุ เสาหินยาว ๑๖ ศอกหยั่งลงไปในหลุม ๘ ศอก อยู่บนหลุม ๘ ศอก แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพาก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน หวั่นไหวได้ แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๗. ปฐมเวรสูตร

ก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน หวั่นไหวได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ หลุมลึกและเสาหินฝังไว้ดี ฉันใด แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของภิกษุผู้มีจิต หลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอ ไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็น ความเสื่อมแห่งรูปนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน แม้หากเสียงอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ แม้หากกลิ่นอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ แม้หากรสอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ แม้หากโผฏฐัพพะอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางกาย ฯลฯ แม้หากธรรมารมณ์อย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางใจ ผ่านมาทางคลองใจของภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่ระคนกับธรรมารมณ์เหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งธรรมารมณ์นั้น ฉันนั้นเหมือนกัน”
สิลายูปสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๘๔-๔๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=189              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=8572&Z=8631                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=230              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=230&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6894              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=230&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6894                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i225-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an9.26/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :