ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อนุปุพพนิโรธ
[๖๑] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อนุปุพพนิโรธ อนุปุพพนิโรธ’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส อนุปุพพนิโรธ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. เขมวรรค ๑๑. อภัพพสูตร

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ โดยปริยายแล้ว ฯลฯ๑- ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา- เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ โดยนิปปริยายแล้ว”
อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. อภัพพสูตร
ว่าด้วยผู้อาจและไม่อาจเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง อรหัตตผลได้ ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. โมหะ (ความหลง) ๔. โกธะ (ความโกรธ) ๕. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๖. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ๗. ปลาสะ (ความตีเสมอ) ๘. อิสสา (ความริษยา) ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มเทียบกับนวกนิบาต ข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๔๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๔๕-๕๔๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=224              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=9743&Z=9753                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=265              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=265&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=265&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i256-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an9.61/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :