ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. วิปัตติสูตร
ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ๑- ภิกษุทั้งหลาย สมบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ
วิปัตติสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๓๐-๓๑ ดูความเต็มในข้อ ๒๙ (ทุติยปริหานิสูตร) @หน้า ๔๔-๔๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค ๑๑. ปราภวสูตร

๑๑. ปราภวสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมและความเจริญของอุบาสก
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้ ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๒. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม ๓. ศึกษาในอธิศีล ๔. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ ๕. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ ๖. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๗. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้แล อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓. วัชชิสัตตกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ศึกษาในอธิศีล มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
ปราภวสูตรที่ ๑๑ จบ
วัชชิสัตตกวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สารันททสูตร ๒. วัสสการสูตร ๓. ปฐมสัตตกสูตร ๔. ทุติยสัตตกสูตร ๕. ตติยสัตตกสูตร ๖. โพชฌังคสูตร ๗. สัญญาสูตร ๘. ปฐมปริหานิสูตร ๙. ทุติยปริหานิสูตร ๑๐. วิปัตติสูตร ๑๑. ปราภวสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๖-๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=650&Z=679                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=28              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=28&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=28&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i019-e.php#sutta10 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/07/an07-030.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/07/an07-031.html https://suttacentral.net/an7.30/en/sujato https://suttacentral.net/an7.31/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :