ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๙. ปฐมวสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมทำจิตไว้ใน อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๒. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑- ๓. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้๒- ๔. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๓- ๕. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ๔- @เชิงอรรถ : @ ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๔/๔๕๕ @ ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) @ ฉลาดในการออกจากสมาธิ หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) @ ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔. เทวตาวรรค ๑๐. ทุติยวสสูตร

๖. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ๑- ๗. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ๒- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมทำจิตไว้ในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ปฐมวสสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยวสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๒
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมทำจิต ไว้ในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร ๑. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๒. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ ๔. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๕. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ ๖. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ ๗. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมทำจิตไว้ใน อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ทุติยวสสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิหมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรม @ที่เป็นสัปปายะ และเป็นอุปการะโดยรู้ว่า ‘นี้คืออารมณ์ที่เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) สำหรับให้จิตกำหนด นี้คือ @อารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์’ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) @ ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิในชั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ @จตุตถฌาน ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๖๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๖๐-๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=834&Z=842                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=37              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=37&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=37&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i029-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an7.40/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :