ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๖. ทุติยสัญญาสูตร

๕. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา๑- สูตรที่ ๑
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มาก๒- แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๓- มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา) ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ @ เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้เจริญขึ้นและตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๔-๕๕/๖๓, ๔๑๘/๔๔๘, ๔๕๓/๔๖๙ @ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อยๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) @ อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๗๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=1067&Z=1075                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=45              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=45&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4104              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=45&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4104                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i041-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.046.than.html https://suttacentral.net/an7.48/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :