ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๒. ปุริสคติสูตร
ว่าด้วยคติของบุรุษ
[๕๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคติ๑- ของบุรุษ ๗ ประการ และอนุปาทา- ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า คติของบุรุษ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรม๒- ไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม๓- จักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี @เชิงอรรถ : @ คติ ในที่นี้หมายถึงญาณคติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐) @ กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพอดีตชาติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐) @ กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพต่อไป (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๒. ปุริสคติสูตร

เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ๑- ไม่ติดใจในสมภพ๒- เห็นทางที่สงบอย่างยิ่ง๓- ด้วยปัญญาอันชอบ เธอยัง มิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละมานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา)โดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ สิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๔- ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่น เหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา อันชอบ เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา อันชอบ ยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์ @เชิงอรรถ : @ ไม่ติดใจในภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ ๕ ในอดีตด้วยตัณหาและทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐) @ ไม่ติตใจในสมภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ ๕ ในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐) @ ทางที่สงบอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๒. ปุริสคติสูตร

เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็น ออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่าง นี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกตกลงไม่ถึงพื้นแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้า กรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ สิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๑- ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตี แผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกตกลงถึงพื้น แล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่าง นี้ว่า ถ้ากรรม ไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี๒- ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ กองไม้เล็กๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้า หรือกองไม้เล็กๆ นั้นให้หมดไปแล้วจึงดับไปเพราะหมดเชื้อ แม้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๓/๑๔๑ @ อสังขารปรินิพพายี ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๒. ปุริสคติสูตร

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ สิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๑- ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ กองไม้เขื่องๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้า หรือกองไม้เขื่องๆ นั้นให้หมดไปแล้วจึงดับไปเพราะหมดเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ สิ้นไป เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี ๗. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจ ในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละ มานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี๒- ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็น ออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้าหรือกองไม้นั้นให้หมดไปไหม้กอไม้บ้าง ไหม้ป่าไม้บ้าง ครั้นแล้วจึงลามมาถึงยอดหญ้าสด ปลายทาง ยอดภูเขา ริมน้ำ หรือภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แล้วจึงดับไปเพราะ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๓/๑๔๒ @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๓. ติสสพรหมสูตร

หมดเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ ๗ ประการนี้แล อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ ของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มี อยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบ อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ เธอทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ละมานานุสัย โดยประการทั้งปวงได้ ละภวราคานุสัยโดยประการทั้งปวงได้ ละอวิชชานุสัยโดย ประการทั้งปวงได้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ ๗ ประการ และอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างนี้แล
ปุริสคติสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๙๙-๑๐๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=1576&Z=1636                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=52              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=52&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4235              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=52&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4235                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i051-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an7.55/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :