ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๙. ปหานสูตร

๙. ปหานสูตร
ว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุนยสังโยชน์ ๒. ... ปฏิฆสังโยชน์ ๓. ... ทิฏฐิสังโยชน์ ๔. ... วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๕. ... มานสังโยชน์ ๖. ... ภวราคสังโยชน์ ๗. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอวิชชาสังโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละอนุนยสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ ละปฏิฆสังโยชน์ได้เด็ดขาด ฯลฯ ทิฏฐิสังโยชน์ ฯลฯ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ฯลฯ มานสังโยชน์ ฯลฯ ภวราคสังโยชน์ ฯลฯ ละอวิชชาสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดราก ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ‘๑-
ปหานสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ @หมุนได้ และคำว่า “เพราะละมานะได้” แปลจากบาลีว่า “มานาภิสมยา” ตามนัย วิ.อ. ๑/๙๗ ใช้ใน @ความหมายว่า ‘ละ’ ดังนั้น จึงมีความหมายว่า เพราะรู้ยิ่งคือเห็นและละมานะ ๙ ประการได้ @(ม.มู.อ. ๑/๒๘/๙๕, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๗/๓๙๘) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๔๙, ๒๕๗/๓๗๔, @องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๐๕/๖๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=164&Z=177                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=9              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=9&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=9&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i001-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an7.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :