ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สมณสัญญาวรรค ๗. โธวนสูตร

๗. โธวนสูตร
ว่าด้วยธรรมเนียมการล้างกระดูกผู้ตาย
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ในทักขิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้างกระดูกของ ญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของเคี้ยวบ้าง ของ บริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนรำบ้าง เพลงขับบ้าง การประโคม บ้าง ธรรมเนียมการล้างนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่การล้างนั้นแลเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของพระอริยะ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เราจักแสดงการล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ซึ่งสัตว์ ทั้งหลายผู้มีชาติ(ความเกิด)เป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา(ความ แก่)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า การล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานซึ่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็น อย่างไร คือ ๑. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมล้างมิจฉาทิฏฐิได้ ล้างบาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่ เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึง ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สมณสัญญาวรรค ๘. ติกิจฉกสูตร

๒. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมล้างมิจฉาสังกัปปะได้ ... ๓. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมล้างมิจฉาวาจาได้ ... ๔. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมล้างมิจฉากัมมันตะได้ ... ๕. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมล้างมิจฉาอาชีวะได้ ... ๖. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมล้างมิจฉาวายามะได้ ... ๗. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมล้างมิจฉาสติได้ ... ๘. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมล้างมิจฉาสมาธิได้ ... ๙. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมล้างมิจฉาญาณะได้ ... ๑๐. ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมล้างมิจฉาวิมุตติได้ ล้างบาปอกุศลธรรมเป็นอัน มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย การล้างอันเป็นของพระอริยะนี้แล ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส
โธวนสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๕๐-๒๕๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=105              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=4956&Z=5003                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=107              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=107&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8401              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=107&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8401                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i101-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an10.107/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :