ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๑. ปุคคลวรรค ๑. เสวิตัพพสูตร

๔. จตุตถปัณณาสก์
๑. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
๑. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรเสพ๑-
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) @เชิงอรรถ : @ เสพ ในที่นี้หมายถึงเข้าไปหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๑. ปุคคลวรรค ๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ
เสวิตัพพสูตรที่ ๑ จบ
๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ๑- เป็นต้น
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรคบ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรคบ ... [๑๕๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้๒- ... บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเข้าไปนั่งใกล้ ... [๑๕๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ... บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ... [๑๕๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ... บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ... [๑๖๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ... บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ... [๑๖๑] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ... บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ... [๑๖๒] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ... บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ... [๑๖๓] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ... บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ... @เชิงอรรถ : @ คบ ในที่นี้หมายถึงให้ความสนิทสนม (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔) @ เข้าไปนั่งใกล้ หมายถึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วสักการะ เคารพอยู่เสมอๆ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๖/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๑. ปุคคลวรรค ๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร

[๑๖๔] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ... บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ... [๑๖๕] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เจริญด้วยปัญญา ... บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ... [๑๖๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพ๑- สิ่งไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ ๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ ๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ ๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ ๙. มิจฉาญาณะ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพสิ่งไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ๙. สัมมาญาณะ ๑๐. สัมมาวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพบุญ เป็นอันมาก
ภชิตัพพาทิสูตรที่ ๒-๑๒ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ประสพ (ปสวติ) หมายถึงได้รับผลตอบ (ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๖/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๙๘-๓๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=153              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=5842&Z=5895                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=155              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=155&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8470              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=155&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8470                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i155-e.php# https://suttacentral.net/an10.155/en/sujato https://suttacentral.net/an10.156-166/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :