ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๖. ทุติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้ แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร

ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๑- โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่ เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้” ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านมหากัจจานะนี้แล พระ ศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถ จะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้ โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่ พวกเรา” ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า “ท่านมหากัจจานะ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อ ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่ง ที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกกระผมได้ปรึกษากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๑๕ หน้า ๒๖๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร

และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้แล พระ ศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถ จะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้ โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่ พวกเรา’ ขอท่านมหากัจจานะจงจำแนกเถิด” ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ เฉพาะหน้าผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามข้าพเจ้า เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้มีพระจักษุ๑- มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลาย พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านมหากัจจานะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มี พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่กระผมทั้งหลายพึง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านมหากัจจานะเอง พระ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๕ หน้า ๒๖๒ และเชิงอรรถที่ ๑-๓ หน้า ๒๖๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร

ศาสดาทรงสรรเสริญ และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ย่อมสามารถจะ จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้ โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านมหากัจจานะไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด” พระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้ กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่ เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ ๑. ปาณาติบาตเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นสิ่ง ที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็น ปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความ เจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ เป็นประโยชน์ ๒. อทินนาทานเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นสิ่งที่ เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะกาเมสุ มิจฉาจารเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอัน มากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร

๔. มุสาวาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๕. ปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ๖. ผรุสวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๗. สัมผัปปลาปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น สิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึง ความเจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย นี้เป็น สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๘. อภิชฌาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อนภิชฌาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล- ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะอนภิชฌา เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๙. พยาบาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อพยาบาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล- ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะอพยาบาท เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร

๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมา ทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและ เป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็ท่าน ทั้งหลาย เมื่อหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่าน ทั้งหลายเถิด” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของท่านพระมหากัจจานะแล้วลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เข้าไปยังพระวิหาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดย ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควร ทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตาม สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้น จากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระ ผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๗. ตติยอธัมมสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านมหา กัจจานะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหา กัจจานะถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตาม ที่ท่านตอบแก่พวกเรา’ ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่แล้วเรียน ถามเนื้อความนี้ ท่านมหากัจจานะได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามเนื้อความนี้ ถึงเราเอง ก็พึงตอบเนื้อความนี้อย่างที่มหากัจจานะตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่ง อุทเทสนั้น และเธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
ทุติยอธัมมสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๐๘-๓๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=159              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=6037&Z=6198                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=161              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=161&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=161&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i156-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an10.172/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :