ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๑๐. อธัมมจริยาสูตร

๑๐. อธัมมจริยาสูตร
ว่าด้วยความประพฤติอธรรม
[๒๒๐] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความประพฤติอธรรมและ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” “ท่านพระโคดม อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจาก ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” “พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” “ข้าพเจ้ายังไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ นี้โดยพิสดาร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า อย่างที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ นี้โดยพิสดารเถิด” “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” พราหมณ์นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “พราหมณ์ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๑๐. อธัมมจริยาสูตร

ความประพฤติอธรรม และความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑- ความประพฤติอธรรมและความ ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ ความประพฤติอธรรมและความ ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความประพฤติ อธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล เพราะความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พราหมณ์ ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๑๗ (ปฐมสัญเจตนิกสูตร) หน้า ๓๕๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ความ ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความ ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ อย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อธัมมจริยาสูตรที่ ๑๐ จบ
กรชกายวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร ๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร ๓. มาตุคามสูตร ๔. อุปาสิกาสูตร ๕. วิสารทสูตร ๖. สังสัปปติปริยายสูตร ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร ๙. กรชกายสูตร ๑๐. อธัมมจริยาสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๖๖-๓๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=195              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=7196&Z=7255                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=197              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=197&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=197&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an10.220/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :