ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๒. เจตนากรณียสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา๒- บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่ บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่ บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา @เชิงอรรถ : @ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณทัสสนะ @หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุมรรคผลด้วยมัคคญาณและผลญาณเพื่อ @พิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้งพิจารณานิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘) @ ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. อานิสังสวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร

บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุข มีจิตเป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่ บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณ- ทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็น ธรรมดา นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็น อานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมี ปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์ เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น๑- อย่างนี้แล
เจตนากรณียสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส)ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน @กัมมวัฏฏ์ (วงจรกรรม)ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพวิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก)ประกอบด้วยวิญญาณนามรูป @สฬายตนะ ผัสสะ เวทนาซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏคืออุปัติภพคือชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น @ฝั่งโน้น หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒-๕/๓๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓-๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=46&Z=76                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=2              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=2&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7161              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=2&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7161                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i001-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an10.2/en/sujato https://suttacentral.net/an10.2/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :