ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๓. นันทิยสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ
[๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เจ้า ศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “ทางที่ดี แม้เราก็ควรจะพักอยู่ ตลอดพรรษาในกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น เราจักประกอบการงานและจักเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคตามเวลาอันสมควร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี แม้เจ้าศากยะ พระนามว่านันทิยะก็ได้พักอยู่ตลอดพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระองค์ได้ทรง ประกอบการงาน และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอันสมควร สมัยนั้น ภิกษุ จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป” เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวอย่างนี้ว่า ได้ทราบว่า ภิกษุ จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป” ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า นันทิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับ ณ ที่ สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบ ข่าวว่า ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า ‘พระ ผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’ หม่อมฉันเมื่อ จะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่างๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธ- เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ นันทิยะ การที่พระองค์เสด็จมาหาตถาคต แล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ ต่างๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร’ นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์ผู้เป็น กุลบุตร นันทิยะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธาไม่ ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีศีลเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ทุศีลไม่ประสบความ สำเร็จ ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้านไม่ประสบ ความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่ประสบความ สำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่ประสบความ สำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความ สำเร็จ ๑ นันทิยะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๖ ประการนี้ แล้วตั้งสติมั่นไว้ภายในตนใน ธรรม ๕ ประการเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร

ธรรม ๕ ประการนี้ คือ ๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระ องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตน ปรารภตถาคตอย่างนี้เถิด ๒. พระองค์พึงระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภธรรมอย่างนี้เถิด ๓. พระองค์พึงระลึกถึงเหล่ากัลยาณมิตรว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี แล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์ กล่าวแนะนำ พร่ำสอน” นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภเหล่า กัลยาณมิตรอย่างนี้เถิด ๔. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี แล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละ แล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือนในหมู่สัตว์ผู้ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม” นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในปรารภจาคะอย่างนี้เถิด ๕. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “เทวดาเหล่าใดล่วงความเป็น สหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา๑- แล้ว เข้าถึงกายมโนมัย๒- อย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว” นันทิยะ เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ล่วง @เชิงอรรถ : @ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๓/๓๘๔) @ กายมโนมัยในที่นี้หมายถึงเทพกายหรือพรหมกายของผู้บำเพ็ญฌานสมาบัติแล้วบังเกิดขึ้นในพรหมโลก @ชั้นสุทธาวาสด้วยอำนาจฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๖, ๑๖๖/๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร

ความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้วจึงเข้าถึง กายมโนมัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว เปรียบเหมือนภิกษุผู้เป็น อสมยวิมุต๑- ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตนหรือการสั่งสมกิจที่ตน ทำแล้ว นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นภายในปรารภเทวดาอย่างนี้เถิด นันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล ย่อมละ ไม่ยึดมั่น บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ ย่อมละ ไม่ยึดมั่นบาปอกุศล- ธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่คว่ำ ย่อมไม่กลับมาบรรจุของที่หกแล้ว และ เปรียบเหมือนไฟที่ลามพ้นไปจากหญ้าแล้ว ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้เท่านั้น ย่อมไม่ กลับมาไหม้ของที่ไหม้แล้ว
นันทิยสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุภูติสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสุภูติ
[๑๔] ครั้งนั้น ท่านพระสุภูติกับภิกษุผู้มีศรัทธาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสุภูติ ดังนี้ว่า “สุภูติ ภิกษุนี้๒- ชื่อไร” @เชิงอรรถ : @ ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุต หมายถึงพระขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย @หรือชั่วคราวคือยั่งยืนเรื่อยไป) หมายถึงอริยผลโดยเฉพาะอรหัตตผลเป็นโลกุตตรวิมุตติ บางแห่งใช้คำว่า @อสมยวิโมกข์ ตรงกันข้ามกับสมยวิมุตติ หรือสมยวิโมกข์ ซึ่งหมายถึงสมาบัติ ๘ เป็นโลกิยวิมุตติ @(องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๓/๓๘๔) และดู ม.มู. ๑๒/๓๑๑/๒๗๘-๒๘๐ @ หมายถึงภิกษุผู้เป็นบุตรของอนาถบิณฑิกคหบดี ซึ่งมีศรัทธาออกบวชในสำนักของท่านพระสุภูติเถระผู้เป็นอาว์ @ต่อมาพระเถระนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แม้พระองค์จะทรงทราบดีว่า ภิกษุนี้เป็นใคร ชื่ออะไร แต่ก็ทรง @ตรัสถามเพื่อปรารภเหตุที่จะแสดงพระธรรมเทศนา (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๔/๓๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๑๗-๔๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=209              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=8125&Z=8186                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=220              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=220&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8604              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=220&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8604                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i218-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an11.13/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :