ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๖. กาลีสูตร

๖. กาลีสูตร
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อกาลี
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ปวัตตบรรพต เขตกรุงกุรรฆระ แคว้นอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสิกาชื่อกาลีชาวกรุงกุรรฆระ เข้าไปหาท่านพระ มหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ในกุมารีปัญหา๑- ว่า การบรรลุประโยชน์๒- เป็นความสงบแห่งหทัย เราชนะเสนา๓- ที่มีรูปเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้ตรัสรู้ความสุขโดยลำดับ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ต้องอ้างบุคคลเป็นพยาน การอ้างอิงใครๆ เป็นพยานจึงไม่มีสำหรับเรา ท่านเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึง เห็นได้โดยพิสดาร อย่างไรหนอ ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า น้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งทำประโยชน์ ชั้นยอด คือสมาบัติ๔- ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคได้ทรง รู้ประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์นั้นแล้วได้ทรงเห็นเบื้องต้น๕- ... โทษ๖- ... ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก๗- ... มัคคามัคคญาณทัสสนะ๘- เพราะเหตุที่ทรง เห็นเบื้องต้น โทษ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก และมัคคามัคคญาณทัสสนะ การบรรลุ ประโยชน์จึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าเป็นความสงบแห่งหทัย @เชิงอรรถ : @ กุมารีปัญหา หมายถึงคำถามของธิดามาร ปรากฏในมารธีตุสูตร (สํ.ส. ๑๕/๑๖๑/๑๕๒) @ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔) @ เสนา ในที่นี้หมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔) @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๑ (สีหนาทสูตร) หน้า ๔๕ ในเล่มนี้ @ เบื้องต้น หมายถึงสมุทัยสัจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔) @ โทษ หมายถึงทุกขสัจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔) @ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก หมายถึงนิโรธสัจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔) @ มัคคามัคคญาณทัสสนะ หมายถึงมัคคสัจ ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๖. กาลีสูตร

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็น อารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มี นีลกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์เชั้นยอด คือสมาบัติที่มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือ สมาบัติที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีอากาส- กสิณเป็นอารมณ์ ... สมณพราหมณ์พวกหนึ่งทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มี วิญญาณกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคได้ทรงรู้ประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีวิญญาณกสิณเป็นอารมณ์นั้นแล้วได้ทรงเห็นเบื้องต้น ... โทษ ... ธรรม เป็นเครื่องสลัดออก ... มัคคามัคคญาณทัสสนะ เพราะเหตุที่ทรงเห็นเบื้องต้น โทษ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก และมัคคามัคคญาณทัสสนะ การบรรลุประโยชน์เป็นอัน พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าเป็นความสงบแห่งหทัย เหตุดังนี้แล พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระดำรัสไว้ในกุมารีปัญหาว่า การบรรลุประโยชน์เป็นความสงบแห่งหทัย เราชนะเสนาที่มีรูปเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้ตรัสรู้ความสุขโดยลำดับ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ต้องอ้างบุคคลเป็นพยาน การอ้างอิงใครๆ เป็นพยานจึงไม่มีสำหรับเรา น้องหญิง เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงเห็นได้ โดยพิสดารอย่างนี้แล
กาลีสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๕๗-๕๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=1169&Z=1225                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=26              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=26&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7507              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=26&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7507                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an10.26/en/sujato https://suttacentral.net/an10.26/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :