ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาใหญ่ สูตรที่ ๑
[๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือ บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวไป บิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวก อัญเดียรถีย์ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวง แล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้ แจ้งธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระ สมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก ของพระผู้มีพระภาค” ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวไป บิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’ ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายได้เข้าไปยังอารามของ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มี อายุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวง แล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนา ของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับ อนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร” ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก ของพระผู้มีพระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะอย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เป็น อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้ว จักไม่สามารถ ตอบให้บริบูรณ์ได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามปัญหาอันมิใช่วิสัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้ด้วย การตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากสาวก ของตถาคตนี้ เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน ธรรม ๑ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๑ ประการคือ อะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่ เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน ธรรม ๒ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๒ ประการคือ อะไร คือ นามและรูป ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้น โดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๒ ประการ นี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน ธรรม ๓ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๓ ประการคือ อะไร คือ เวทนา ๓ ๑- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้น @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๔, สํ.สฬา. ๑๘/๒๗๐/๒๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

โดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดย ชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ อาหาร ๔ ๑- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔ ประการนี้แล้ว จึงเป็น ผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการ คืออะไร คืออุปาทานขันธ์ ๕ ๒- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด @เชิงอรรถ : @ อาหาร ๔ หมายถึง (๑) กวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) (๒) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (๓) มโน- @สัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) (๔) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๓, @ม.มู. ๑๒/๙๐/๖๕ @ ดู สํ.ข. ๑๗/๔๘/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑/๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร

โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน ธรรม ๖ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๖ ประการคือ อะไร คือ อายตนะภายใน ๖ ๑- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๖ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน ธรรม ๗ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๗ ประการคือ อะไร คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗ ๒- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๗ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คำที่เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘’ เพราะอาศัย อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๘ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๘ ประการคืออะไร คือ โลกธรรม ๘ ๓- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๘ ประการนี้แล้ว จึงเป็น ผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวว่า ‘ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๗๙-๘๔ @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๒-๒๒๓, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๔/๓๕ @ ดู องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๕-๖/๑๓๑-๑๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร

เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดย ชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๙ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๙ ประการคืออะไร คือ สัตตาวาส ๙ ๑- ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๙ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ เพราะ อาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์ โดยชอบในธรรม ๑๐ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๑๐ ประการคืออะไร คือ อกุศลกรรมบถ๒- ๑๐ ประการ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์ โดยชอบในธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะ อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมมหาปัญหาสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาใหญ่ สูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้กชังคลนิคม ครั้งนั้น อุบาสกชาวกชังคละเป็นอันมากเข้าไปหาภิกษุณีชาวกชังคละถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามภิกษุณีชาวเมืองกชังคละดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๑/๒๓๒, ๓๕๙/๒๗๒ @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๗/๒๓๘, ๓๖๐/๒๗๘, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗๖/๒๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๕๙-๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=27              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=1226&Z=1359                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=27              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=27&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7522              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=27&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7522                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.027x.nypo.html https://suttacentral.net/an10.27/en/sujato https://suttacentral.net/an10.27/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :