ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๗. นัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความรัก
[๘๗] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกาฬกภิกษุ รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์๑- ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์ นี้ เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ๒- เพื่อความเป็นอันเดียวกัน @เชิงอรรถ : @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเรื่องวินัย @(๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับ @อาบัติและการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจสงฆ์ต่างๆ เช่น ให้อุปสมบท หรือให้ผ้ากฐิน @เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒) @ ความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญสมณธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๗/๓๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร

๒. ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้ การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๓. ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว แม้ การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๔. ภิกษุเป็นผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น ผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อ ความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๕. ภิกษุเป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุ เป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๖. ภิกษุเป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุ เป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๗. ภิกษุเป็นผู้มีมายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มี มายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๘. ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่ ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรม ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร

๙. ภิกษุเป็นผู้ไม่หลีกเร้น๑- ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ หลีกเร้น ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๑๐. ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร แม้ การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้ง หลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อน พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ม้าโง่อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลายจะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหารสำหรับ ม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราเหมือนอย่างม้าอาชาไนย’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น มนุษย์ ทั้งหลายก็ไม่ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ไม่ให้กินอาหารสำหรับม้าอาชาไนย และไม่ปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมนุษย์ผู้รู้ ทั้งหลายพิจารณา เห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง ความคดที่ม้านั้นยังละ ไม่ได้ ฉันใด ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพระเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร

ว่าด้วยการไม่ก่ออธิกรณ์
๑. ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ อธิกรณ์ แม้การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ อธิกรณ์ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๒. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้การที่ ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา นี้เป็น ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๓. ภิกษุเป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา แม้การที่ภิกษุ เป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๔. ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น ผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๕. ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุเป็น ผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๖. ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุเป็น ผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๗. ภิกษุเป็นผู้ไม่มีมายา สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มี มายา สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความ เป็นอันเดียวกัน ๘. ภิกษุเป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่ภิกษุ เป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร

๙. ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๑๐. ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถาร สรรเสริญผู้ปฏิสันถารนี้ เป็นธรรมที่เป็น ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ความปรารถนาจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ม้าอาชาไนยตัวเจริญ อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลาย จะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้เรากิน อาหารสำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหาร สำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมนุษย์ผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง ความคดที่ม้านั้นละได้แล้ว ฉันใด ความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุ นั้นละได้แล้ว ฉันนั้น
นัปปิยสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๙๔-๑๙๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=85              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=3789&Z=3903                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=87              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=87&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8143              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=87&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8143                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i081-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an10.87/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :