ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร

๖. โกกนุทสูตร
ว่าด้วยโกกนุทปริพาชกถามพระอานนท์
[๙๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์ ได้ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง เข้าไปยังแม่น้ำตโปทาเพื่อเอาน้ำลูบตัว เสร็จแล้วกลับขึ้นมา ครองผ้าผืนเดียว ยืนผึ่งตัวอยู่ แม้โกกนุทปริพาชกก็ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง ได้ไปยัง แม่น้ำตโปทาเพื่อเอาน้ำลูบตัว เห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ที่ไกลจึงถามว่า “ท่าน เป็นใคร อยู่ที่นี้” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ เราเป็นภิกษุ” “เป็นภิกษุพวกไหน” “พวกสมณศากยบุตร” “หากท่านจะให้โอกาสแก้ปัญหา ข้าพเจ้าจะขอถามข้อข้องใจบางอย่างกับท่าน” “เชิญถามเถิด เราฟังแล้วจักแก้” “ท่านมีทิฏฐิ๑- อย่างนี้หรือว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” “ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลย ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” “ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” “เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” “ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็น อย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด อีก... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่ เกิดอีก ก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” “ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร

ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” “ถ้าเช่นนั้น ท่านก็ไม่รู้ ไม่เห็นละซิ” “ผู้มีอายุ เราไม่รู้ ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่” “ท่านเมื่อถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกเที่ยง นี้ เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะ กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลย ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคน ละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด อีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เมื่อถูกถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่รู้ไม่เห็นละซิ’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เราไม่รู้ ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่’ ผู้มีอายุ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเข้าใจได้ อย่างไร” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๖. โกกนุทสูตร

เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจาก ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ผู้มีอายุ ทิฏฐิ๑- มูลเหตุแห่งทิฏฐิ๒- ทิฏฐิที่ยึดมั่น๓- ทิฏฐิที่กลุ้มรุม๔- ความเพิกถอนทิฏฐิ๕- มีประมาณเท่าใด เรารู้ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นประมาณเท่านั้น เรารู้ทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘รู้อยู่’ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘เห็นอยู่’ เราจะกล่าวว่า ‘ไม่รู้ ไม่เห็น’ ได้อย่างไร ผู้มีอายุ เรารู้อยู่ เห็นอยู่” “ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเรียกท่านว่าอย่างไร” “ผู้มีอายุ เราชื่อ ‘อานนท์’ และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็เรียกเราว่า ‘อานนท์’ “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าสนทนาอยู่กับอาจารย์ใหญ่ แต่ไม่รู้เลยว่าเป็น ‘ท่าน อานนท์’ ถ้าข้าพเจ้าจะพึงรู้ว่า ‘ท่านผู้นี้คือท่านอานนท์’ ข้าพเจ้าก็จะไม่กล่าวตอบโต้ ถึงเพียงนี้ ขอท่านอานนท์จงยกโทษให้ข้าพเจ้าเถิด”
โกกนุทสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙) @ มูลเหตุแห่งทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมูลเหตุทิฏฐิ ๘ ประการ คือ ขันธ์ อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโส @มนสิการ ปาปมิตร และปรโตโฆสะ(การฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙) @ ทิฏฐิที่ยึดมั่น นี้เป็นชื่อของทิฏฐิที่ครอบงำสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙) @ ทิฏฐิที่กลุ้มรุม ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๑๘ ประการ คือ (๑) ทิฏฐิ(ความเห็นที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง) @(๒) การตกอยู่ในทิฏฐิ (๓) ความรกชัฏคือทิฏฐิ (๔) ความกันดารคือทิฏฐิ (๕) เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ @(๖) ความดิ้นรนคือทิฏฐิ (๗) เครื่องผูกคือทิฏฐิ (๘) ลูกศรคือทิฏฐิ (๙) ความคับแค้นคือทิฏฐิ (๑๐) @ความกังวลคือทิฏฐิ (๑๑) เครื่องจองจำคือทิฏฐิ (๑๒) เหวคือทิฏฐิ (๑๓) อนุสัยคือทิฏฐิ (๑๔) ความ @เดือดร้อนคือทิฏฐิ (๑๕) ความเร่าร้อนคือทิฏฐิ (๑๖) เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ (๑๗) อุปาทานคือทิฏฐิ, ความ @ยึดมั่นคือทิฏฐิ (๑๘) ความยึดมั่นถือมั่นคือทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙, ขุ.ป.อ. ๒/๑๒๗-๑๒๘/๕๓) และ @ดู ขุ.ป. ๒๙/๑๒/๔๐ @ ความเพิกถอนทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค ที่ชื่อว่า ทิฏฐิสมุคฆาตะ เพราะถอนทิฏฐิได้ทั้งหมด @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๖/๓๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๒๖-๒๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=94              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=4479&Z=4538                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=96              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=96&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8308              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=96&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8308                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.096.than.html https://suttacentral.net/an10.96/en/sujato https://suttacentral.net/an10.96/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :