ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๓. หิริสูตร
ว่าด้วยความละอาย
[๒๕๖] (พระผู้มีพระภาคทรงตอบปัญหาของดาบสดังนี้) คนผู้ไม่มีหิริ รังเกียจคนมีหิริ ชอบพูดว่า ‘เราเป็นเพื่อนท่าน’ แต่ไม่เคยช่วยเหลือการงานของเพื่อนเลย พึงรู้เถิดว่า ‘คนนั้นไม่ใช่เพื่อนเรา’ [๒๕๗] คนพูดวาจาไพเราะอ่อนหวาน แต่ไม่ทำประโยชน์แก่มิตร บัณฑิตเรียกว่า ผู้ดีแต่พูด [๒๕๘] มิตรใดไม่พลั้งเผลอ มุ่งหวังความแตกแยกกัน คอยหาแต่ความผิดเท่านั้นทุกเวลา มิตรนั้นไม่ควรคบ ส่วนมิตรที่วางใจได้ เหมือนบุตรในไส้ ถึงผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่างพันอย่าง ก็ไม่แตกแยกจากกัน มิตรเช่นนั้นควรคบอย่างยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๔. มงคลสูตร

[๒๕๙] ความเพียรที่เป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์ ย่อมนำทั้งความสรรเสริญและความสุขมาให้ ผู้หวังผล นำธุระอันสมควรแก่บุรุษ ย่อมทำความเพียรนั้นให้เจริญได้ [๒๖๐] บุคคลดื่มปวิเวกรส ลิ้มรสแห่งความสงบ และได้ลิ้มรสแห่งปีติในธรรมแล้ว เป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป๑-
หิริสูตรที่ ๓ จบ
๔. มงคลสูตร
ว่าด้วยมงคล๒-
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๓- เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาว่า [๒๖๑] เทวดาและมนุษย์จำนวนมาก ต่างมุ่งหวังความสวัสดี ร่วมกันคิดถึงเรื่องมงคล ขอพระองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดด้วยเถิด @เชิงอรรถ : @ ดูธรรมบทข้อ ๒๐๕ หน้า ๙๖ ในเล่มนี้ @ ดูขุททกปาฐะ (มงคลสูตร ข้อ ๑-๑๓ หน้า ๖-๘ ในเล่มนี้) @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๖๐-๕๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=25&siri=242              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=7810&Z=7824                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=316              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=316&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=1349              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=316&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=1349                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.03.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.03.irel.html https://suttacentral.net/snp2.3/en/mills https://suttacentral.net/snp2.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :