ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๗. พราหมณธัมมิกสูตร

๗. พราหมณธัมมิกสูตร
ว่าด้วยธรรมของพราหมณ์ที่แท้จริง
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลชาวโกศลจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่ เป็นผู้แก่เฒ่า สูงอายุ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้วทั้งนั้น พากัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ปัจจุบันนี้ พราหมณ์๑- ทั้งหลายยังนิยมปฏิบัติ ธรรมเนียมของพราหมณ์สมัยโบราณอยู่หรือไม่” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ท่านพราหมณ์ทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ พราหมณ์ ทั้งหลายไม่นิยมปฏิบัติธรรมเนียมของพราหมณ์สมัยโบราณเลย” พราหมณ์ทั้งหลายทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ขอประทานวโรกาส หากไม่ ทรงหนักพระทัย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเนียมของพราหมณ์สมัยโบราณแก่ ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าว” พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า [๒๘๗] ฤๅษีทั้งหลายสมัยก่อน มีความสำรวมตน มีตบะ๒- ละกามคุณ ๕ ได้แล้ว บำเพ็ญประโยชน์ตนให้สำเร็จ @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ มี ๕ จำพวก คือ (๑) พรหมสมพราหมณ์ (พราหมณ์ที่มีความประพฤติเสมอพรหม) @(๒) เทวสมพราหมณ์ (พราหมณ์ที่มีความประพฤติเสมอเทวดา) (๓) มริยาทพราหมณ์ (พราหมณ์ที่มีความ @ประพฤติดี) (๔) สัมภินนมริยาทพราหมณ์ (พราหมณ์ที่มีความประพฤติทั้งดีและชั่วปนกัน) (๕) พราหมณ- @จัณฑาลพราหมณ์ (พราหมณ์ที่เป็นพราหมณ์จันฑาล) (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๙๒/๓๒๓) @ มีตบะ ในที่นี้หมายถึงสำรวมอินทรีย์ ๖ ประการ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) (ขุ.สุ.อ. ๒/๒๘๗/๑๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๗. พราหมณธัมมิกสูตร

[๒๘๘] พราหมณ์สมัยก่อน ไม่มีสัตว์เลี้ยง ไม่สะสมเงินทอง ไม่มีสิ่งของต่างๆ พวกเขามีทรัพย์และธัญชาติคือการสาธยายมนตร์ รักษาขุมทรัพย์ที่ประเสริฐ๑- ไว้ [๒๘๙] ทายกต่างเต็มใจถวายภัตตาหาร ที่ตนจัดเตรียมไว้ที่ประตูเรือน แก่พราหมณ์ที่แสวงหาภัตตาหาร ที่บุคคลให้ด้วยศรัทธาเป็นนิตย์ [๒๙๐] ทั้งชาวชนบทและชาวเมืองต่างแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณหลากสี มีที่อยู่หลับนอนอาศัยเป็นหลักแหล่งมั่นคง ได้พากันเคารพนับถือพราหมณ์เหล่านั้น [๒๙๑] พราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่ามีธรรมรักษา จึงไม่มีใครๆ คิดฆ่า คิดเอาชนะ และทุกครัวเรือนไม่มีใครๆ ปฏิเสธพราหมณ์เหล่านั้นเลย [๒๙๒] สมัยก่อน พราหมณ์ได้ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เด็ก เที่ยวเสาะแสวงหาวิชชาและจรณะ นับเป็นเวลานานถึง ๔๘ ปี [๒๙๓] พราหมณ์เหล่านั้นไม่สมสู่กับหญิงวรรณะอื่น ทั้งไม่ยอมใช้เงินซื้อหญิงมาเป็นภรรยา แต่จะอภิรมย์อยู่กินกับหญิงที่ผู้ปกครองยกให้ ด้วยความสมัครใจเท่านั้น [๒๙๔] พราหมณ์ผู้เป็นสามีย่อมไม่ร่วมกับภรรยาผู้เว้นจากระดู๒- นอกจากสมัยที่ควรจะร่วม พราหมณ์ย่อมไม่ร่วมเมถุนธรรมในระหว่างโดยแท้ @เชิงอรรถ : @ ขุมทรัพย์ที่ประเสริฐ ในที่นี้หมายถึงวิหารธรรม มีเมตตา เป็นต้น (ขุ.สุ.อ. ๒/๒๘๘/๑๒๖-๑๒๗) @ ภรรยาผู้เว้นจากระดู หมายถึงภรรยาที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน (ขุ.สุ.อ. ๒/๒๙๔/๑๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๗. พราหมณธัมมิกสูตร

[๒๙๕] พราหมณ์สมัยนั้นพากันสรรเสริญการประพฤติพรหมจรรย์๑- ศีล ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ตบะ ความสงบเสงี่ยม การไม่เบียดเบียนกัน และขันติ [๒๙๖] พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ผู้มีความบากบั่นมั่นคง เป็นผู้สูงสุดกว่าพราหมณ์เหล่านั้น และพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่เสพเมถุนธรรม แม้แต่จะฝันถึงก็ไม่มี [๒๙๗] พราหมณ์บางพวกผู้เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ศึกษาตามวัตรปฏิบัติของพราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่ จึงสรรเสริญการประพฤติพรหมจรรย์ ศีล และขันติ [๒๙๘] พราหมณ์ทั้งหลายผู้ขอข้าวสาร ที่นอน ผ้า เนยใส และน้ำมัน มาเก็บรวบรวมไว้โดยธรรมแล้วบูชายัญด้วยของเหล่านั้น [๒๙๙] ในยัญที่บูชานั้น พราหมณ์จะไม่ยอมฆ่าแม่โคเลย เหมือนมารดาบิดา พี่น้อง หรือแม้ญาติอื่นๆ ไม่ยอมฆ่าแม่โค เพราะคิดว่าแม่โคเป็นสัตว์มีอุปการะยิ่งใหญ่ ซึ่งผลิตปัญจโครส๒- อันเป็นยา [๓๐๐] อนึ่ง แม่โคนั้นให้ข้าว ให้กำลัง ให้ผิวพรรณ และความสุข พราหมณ์ทราบถึงประโยชน์ยิ่งใหญ่เช่นนี้จึงไม่ยอมฆ่าแม่โค [๓๐๑] พราหมณ์เหล่านั้นมีผิวเนื้อละเอียดอ่อน มีรูปร่างใหญ่ มีผิวพรรณผุดผ่อง มีเกียรติยศ ปฏิบัติหน้าที่ใหญ่น้อยตามธรรมเนียมของตนอย่างเคร่งครัด @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ (ขุ.สุ.อ. ๒/๒๙๔/๑๓๐) @ ปัญจโครส หมายถึงผลผลิตเกิดจากโค มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมเปรี้ยว เปรียง เนยใส และเนยข้น @(วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๙/๑๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๗. พราหมณธัมมิกสูตร

ได้บำเพ็ญจริยาวัตรต่างๆ ในโลก มุ่งให้ประชาชนประสพสุขสวัสดี [๓๐๒] ต่อมา พราหมณ์เหล่านั้นเกิดความสำคัญผิด เพราะเห็นความสุขเพียงเล็กน้อยที่เกิดจากกามคุณที่ต่ำทราม สมบัติอันวิเศษของพระเจ้าแผ่นดิน และสตรีที่แต่งกายงดงาม [๓๐๓] รถเทียมม้าอาชาไนยที่ตกแต่งไว้ดี สลักลวดลายอย่างวิจิตร เรือนใหญ่เรือนน้อยที่แบ่งสัดส่วนไว้เป็นอย่างดี [๓๐๔] พราหมณ์ผู้สำคัญผิดนั้น ปรารถนาอยากเป็นเจ้าของโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นของมนุษย์อันโอฬาร เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงโค ประกอบไปด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ [๓๐๕] พราหมณ์เหล่านั้นจึงผูกมนตร์มุ่งหวังโภคสมบัตินั้นๆ แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกากะ กราบทูลว่า ‘พระองค์ทรงมีทรัพย์และธัญชาติเป็นจำนวนมาก ขอพระองค์ทรงบูชายัญเถิด พระองค์จะทรงมีแก้ว แหวน เงิน ทอง พืชพันธุ์ธัญญาหารเพิ่มมากขึ้น’ [๓๐๖] และเมื่อพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงองอาจยิ่งใหญ่ ทรงยินยอมตามคำของพราหมณ์นั้นแล้ว จึงทรงบูชายัญ คือ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ และนิรัคคฬะ๑- ครั้นเสร็จแล้วก็พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์เหล่านั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๓๗๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๗. พราหมณธัมมิกสูตร

[๓๐๗] อีกทั้งโค ที่นอน ผ้า สตรีที่แต่งกายงดงาม รถเทียมม้าอาชาไนยที่ตกแต่งไว้ดี สลักลวดลายอย่างวิจิตร [๓๐๘] ทั้งรับสั่งให้นำเอาธัญชาติต่างๆ ไปบรรจุไว้ให้เต็มเรือนที่น่ารื่นรมย์ ซึ่งแบ่งสัดส่วนไว้เป็นอย่างดี แล้วพระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์เหล่านั้น [๓๐๙] พราหมณ์เหล่านั้นได้ทรัพย์ที่พระราชทานนั้นๆ แล้ว ชอบเก็บสะสมไว้ จึงถูกความอยากครอบงำ เพิ่มพูนความอยากได้มากยิ่งขึ้นไปอีก พวกเขาจึงผูกมนตร์มุ่งหวังโภคทรัพย์นั้นๆ ขึ้น พากันเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกากะอีก [๓๑๐] กราบทูลว่า โคทั้งหลายเกิดขึ้นเพื่อให้ใช้ทำประโยชน์ ในกิจการต่างๆ ของมนุษย์ เหมือนแม่น้ำ แผ่นดิน เงินทอง ทรัพย์สินและพืชพันธุ์ธัญญาหาร เกิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์ ขอพระองค์ทรงทำพิธีบูชายัญเถิด พระองค์จะทรงมีแก้ว แหวน เงิน ทอง พืชพันธุ์ธัญญาหารเพิ่มมากขึ้น [๓๑๑] และเมื่อพระเจ้าแผ่นดิน ผู้องอาจยิ่งใหญ่ ทรงยินยอมตามคำของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว จึงทรงทำพิธีบูชายัญ ในพิธีบูชายัญนั้น รับสั่งให้ฆ่าแม่โคมากมายหลายแสนตัว [๓๑๒] แม่โคนมทั้งหลายสงบเสงี่ยมเหมือนแม่แพะ ถึงจะถูกคนเลี้ยงรีดนมใส่หม้อ ก็ไม่ใช้เท้าหรือเขาอย่างใดอย่างหนึ่งทำอันตรายเลย กระนั้น พระราชาก็รับสั่งให้จับที่เขาแล้วฆ่าด้วยศัสตรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๗. พราหมณธัมมิกสูตร

[๓๑๓] เพราะการฆ่าโคบูชายัญนั้น เทวดา พระพรหม พระอินทร์ อสูร และผีเสื้อสมุทร ต่างเปล่งวาจาประณามมนุษย์ว่า ไม่มีคุณธรรม เพราะมีดที่แทงแม่โค [๓๑๔] แต่ก่อนนั้นมีโรคร้ายอยู่เพียง ๓ ชนิด คือ โรคความอยาก โรคความหิว และโรคชรา แต่เพราะการทำร้ายเบียดเบียนปศุสัตว์ จึงทำให้แพร่โรคร้ายเพิ่มขึ้นถึง ๙๘ ชนิด [๓๑๕] การทำร้ายเบียดเบียนปศุสัตว์นี้ นับเป็นการลงทัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ไร้คุณธรรม มีมาแต่เดิมแล้ว แม่โคนมทั้งหลายที่ไม่ทำร้ายเบียดเบียนใครๆ ต่างก็ถูกฆ่า พวกบูชายัญก็เสื่อมจากธรรม [๓๑๖] ดังกล่าวมานี้ การฆ่าสัตว์บูชายัญนี้ เป็นธรรมเนียมที่ต่ำทราม มีมาแต่โบราณ ถูกวิญญูชนติเตียน คือวิญญูชนจะติเตียนคนที่ทำพิธีบูชายัญ โดยวิธีนี้ในที่ทุกแห่งที่ตนเห็น [๓๑๗] เมื่อธรรมเนียมเก่าของพราหมณ์เสื่อมสูญไปอย่างนี้แล้ว คนวรรณะศูทรและแพศย์ก็แตกแยกกัน วรรณะกษัตริย์จำนวนมากก็แตกแยกกัน ภรรยาก็ยังดูหมิ่นสามี [๓๑๘] กษัตริย์ พราหมณ์ พร้อมทั้งแพศย์และศูทร ที่เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม ที่ได้รับความคุ้มครองจากวงศ์ตระกูลของตน ต่างไม่คำนึงถึงชาติชั้นวรรณะต่อไป ล้วนตกอยู่ในอำนาจกามคุณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๘. นาวาสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
พราหมณธัมมิกสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๖๗-๕๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=25&siri=246              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=7924&Z=8037                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=322              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=322&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=2801              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=322&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=2801                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/snp2.7/en/mills https://suttacentral.net/snp2.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :