ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๑๐. อุฏฐานสูตร

๑๐. อุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการลุกขึ้นนั่งสมาธิ
(พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายดังนี้) [๓๓๔] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด๑- จงนั่งเถิด๒- ความหลับจะมีประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อนด้วยโรคคือกิเลสมีประการต่างๆ ถูกลูกศรคือราคะเป็นต้นทิ่มแทงจนย่อยยับอยู่ [๓๓๕] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จงบากบั่นขยันศึกษาปฏิบัติเพื่อบรรลุสันติธรรม๓- กันเถิด อย่าให้มัจจุราชรู้ว่า เธอทั้งหลายมัวแต่ประมาทลุ่มหลง แล้วบังคับให้หลงใหลอยู่ในอำนาจเลย [๓๓๖] เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหาที่ชื่อว่า วิสัตติกา ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ ผู้ยังมีความต้องการยึดติดอยู่ ขณะอย่าได้ล่วงเลยเธอทั้งหลายไปเสีย๔- เพราะเหล่าชนที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป ย่อมแออัดกันในนรก เศร้าโศกอยู่ @เชิงอรรถ : @ จงลุกขึ้น หมายถึงลุกจากอาสนะ จงเพียรพยายามอย่าเกียจคร้าน (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๔/๑๕๓) @ จงนั่ง หมายถึงนั่งคู้บัลลังก์ เพื่อปฏิบัติกัมมัฏฐาน (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๔/๑๕๓) @ สันติธรรม มี ๓ ประการ คือ (๑) อัจจันตสันติ(ความสงบอย่างสิ้นเชิง) (๒) ตทังคสันติ(ความสงบ @ด้วยองค์นั้นๆ) (๓) สัมมุติสันติ(ความสงบโดยสมมติ) แต่ในที่นี้หมายถึงอัจจันตสันติ กล่าวคือนิพพาน @(ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๕/๑๕๔) @ ขณะอย่าได้ล่วงเลยเธอทั้งหลายไปเสีย ในที่นี้หมายถึงอย่าปล่อยให้โอกาสหรือเวลาแห่งการบำเพ็ญ @สมณธรรมผ่านไป (ขุ.สุ.อ. ๒/๓๓๖/๑๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒. จูฬวรรค]

๑๑. ราหุลสูตร

[๓๓๗] ความประมาทเป็นดุจธุลี ความประมาทที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็จัดเป็นดุจธุลี กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตควรถอนลูกศรคือกิเลสของตน ด้วยความไม่ประมาทและด้วยวิชชา
อุฏฐานสูตรที่ ๑๐ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๗๗-๕๗๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=25&siri=249              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=8093&Z=8110                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=327              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=327&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=3417              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=327&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=3417                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i314-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.10.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.2.10.irel.html https://suttacentral.net/snp2.10/en/mills https://suttacentral.net/snp2.10/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :