ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. อชกลาปกสูตร
ว่าด้วยอชกลาปกยักษ์
[๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อชกลาปกเจดีย์อันเป็นที่อยู่ของยักษ์ ชื่อว่า อชกลาปกะ เขตกรุงปาวา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ในความมืดมิดแห่งราตรี และฝนก็โปรยละอองอยู่ ครั้งนั้น อชกลาปกยักษ์ประสงค์ จะให้พระผู้มีพระภาคเกิดความกลัว หวาดหวั่น ขนพองสยองเกล้า จึงเข้าไปหา @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงความเป็นผู้มั่นคงของพระขีณาสพ โดยทรงมุ่งแสดงความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง @เป็นหลัก (ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕) @ สารธรรม หมายถึงวิมุตติสาระ (ขุ.อุ.อ. ๖/๖๖) @ คายโทษ หมายถึงคายโทษมีราคะเป็นต้น (ขุ.อุ.อ. ๖/๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

๘. สังคมชิสูตร

ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ส่งเสียงร้องโหยหวนขึ้น ๓ ครั้ง ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคว่า “อักกุโล ปักกุโล” แล้วพูดว่า “สมณะ นั่นปีศาจ๑- ปรากฏแก่ท่าน” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน๒-
เมื่อใด บุคคลถึงฝั่งในธรรมของตน ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เมื่อนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่กลัวปีศาจ และเสียงร้องโหยหวนอย่างนี้
อชกลาปกสูตรที่ ๗ จบ
๘. สังคามชิสูตร
ว่าด้วยพระสังคามชิเถระ
[๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสังคามชิเดินทางมาถึงกรุงสาวัตถี โดยลำดับเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค อดีตภรรยาของท่านพระสังคามชิได้ฟังข่าวว่า “ทราบว่าพระคุณเจ้าสังคามชิถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว” นางจึงอุ้มลูกน้อยไปยัง พระเชตวัน สมัยนั้น ท่านพระสังคามชินั่งพักกลางวันอยู่ใต้ต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น อดีต ภรรยาของท่านพระสังคามชิเข้าไปหาถึงที่พัก ได้กล่าวกับท่านพระสังคามชิ ดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ปีศาจ ในที่นี้หมายถึงยักษ์เนรมิตรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว ยืนเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค @(ขุ.อุ.อ. ๗/๗๑) @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงธรรมานุภาพที่เป็นเหตุให้ไม่ทรงคำนึงถึงการกระทำน่ากลัวใดๆ (ขุ.อุ.อ. ๗/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๗๙-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=25&siri=42              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=1549&Z=1563                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=44              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=44&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=1492              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=44&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=1492                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.1.07.than.html https://suttacentral.net/ud1.7/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud1.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :