ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร

๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
ว่าด้วยลัทธิแตกต่างกัน สูตรที่ ๑
[๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น สมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจ แตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลก๑- เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลกไม่มี ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “ชีวะ๒- กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “ชีวะกับ สรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก ตายแล้ว ตถาคต๓- เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึงอัตตา (ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๓) @ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรืออาตมัน (Soul) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา(อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตตะ (ที.สี.อ. ๑/๖๕/๑๐๘, ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร

๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่า นั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้” ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สมณพราหมณ์ และปริพาชกจำนวนมากผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตก ต่างกัน มีความชอบใจแตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลก ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมี ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มี ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร

๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ สรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ๑- จึงไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม ก็เกิดการ บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้’ @เชิงอรรถ : @ จักษุ ในที่นี้หมายถึงปัญญา (ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้เอง มีพระราชาพระองค์หนึ่ง รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ‘พ่อหนุ่ม เจ้าจงไป จงบอกให้คนตาบอดทั้งหมด ในกรุงสาวัตถีมาประชุมร่วมกัน’ บุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พาคนตาบอด ทั้งหมดในกรุงสาวัตถีเข้าไปเฝ้าพระราชาถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระราชาดังนี้ว่า ‘ขอเดชะ คนตาบอดทั้งหลายในกรุงสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว พระเจ้าข้า’ พระราชา ตรัสว่า ‘พ่อหนุ่ม ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงแสดงช้าง๑- แก่คนตาบอดทั้งหลายเถิด’ บุรุษนั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลาย คือ แสดงหัวช้างแก่คน ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงหูช้างแก่คน ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงงาช้างแก่คน ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงงวงช้างแก่คน ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงตัวช้างแก่คน ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงเท้าช้างแก่คน ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้‘ แสดงระหว่างขาอ่อนช้าง แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงหางช้าง แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงขนหางช้าง แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นครั้นแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลายแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระราชาพระองค์นั้น ถึงที่ประทับแล้วกราบทูลดังนี้ว่า ‘ขอเดชะ คนตาบอดทั้งหลายเห็นช้างแล้ว๒- พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’ ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระราชาพระองค์นั้นได้เสด็จไปหาคนตาบอดเหล่านั้น ได้ตรัสกับคนตาบอดทั้งหลายดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านเห็นช้างแล้วหรือ’ @เชิงอรรถ : @ แสดงช้าง หมายถึงนำช้างมาแล้วให้ช้างนอนลงโดยให้คนตาบอดคลำดูแต่ละส่วน (ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๗) @ เห็นช้าง ในที่นี้หมายถึงคนตาบอดใช้มือจับต้อง ลูบคลำช้าง เหมือนเห็นด้วยตา (ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร

คนตาบอดเหล่านั้นกราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นแล้ว พระเจ้าข้า’ พระราชาตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านกล่าวว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นช้างแล้ว ช้างเป็นอย่างไร’ คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนหม้อ พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำหูช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนกระด้ง พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำงาช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนตอไม้ พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำงวงช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนงอนไถ พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำตัวช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนยุ้งข้าว พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำเท้าช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนเสา พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำระหว่างขาอ่อนช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่าง เหมือนครก พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำหางช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนสากตำข้าว พระเจ้าข้า’ คนตาบอดพวกที่คลำขนหางช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนไม้กวาด พระเจ้าข้า’ ภิกษุทั้งหลาย คนตาบอดเหล่านั้นต่างกำหมัดทุ่มเถียงกันว่า ‘อย่างนี้คือช้าง อย่างนี้มิใช่ช้าง ช้างต้องไม่เป็นอย่างนี้ ช้างต้องเป็นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย พระราชา พระองค์นั้นจึงทรงพอพระทัย ด้วยเหตุนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค]

๕. ทุติยนานาติตถิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ จึงไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่ มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม ก็เกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่ เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ทราบว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยึดติดอยู่ในทิฏฐิหรืออุปาทานขันธ์เหล่านี้ จึงกล่าวโต้แย้งวิวาทกัน เหมือนคนตาบอดที่คลำช้างแต่ละส่วน ฉะนั้น
ปฐมนานาติตถิยสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๘๙-๒๙๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=25&siri=89              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=3493&Z=3583                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=136              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=136&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=8119              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=136&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=8119                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.6.04.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.6.04.irel.html https://suttacentral.net/ud6.4/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud6.4/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :