ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๙. อนุรุทธเถรคาถา
ภาษิตของพระอนุรุทธเถระ
(พระอนุรุทธเถระ เสวยวิมุติสุขอยู่ พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เกิดปีติโสมนัส จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๘๙๒] อนุรุทธะนี้แหละ ละพระชนกชนนี พระประยูรญาติและกามคุณ ๕ ได้แล้ว เข้าฌานอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๙. อนุรุทธเถรคาถา

[๘๙๓] บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้อง มีเสียงดนตรีที่บรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า ย่อมไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์ด้วยการบริโภคกามนั้น ยังยินดีในกามคุณซึ่งเป็นวิสัยของมาร [๘๙๔] ส่วนอนุรุทธะนี่แหละ ล่วงกามคุณ ๕ นี้ได้แล้ว ยินดีในคำสอนของพระพุทธเจ้า ล่วงโอฆะทั้งปวงได้แล้ว เข้าฌานอยู่ [๘๙๕] และล่วงกามคุณ ๕ เหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่น่ารื่นรมย์ใจ เข้าฌานอยู่ [๘๙๖] อนุรุทธะ เป็นปราชญ์ ไม่มีอาสวะ กลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลแต่ผู้เดียวไม่มีเพื่อน [๘๙๗] อนุรุทธะ ผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญา ไม่มีอาสวะ เที่ยวเลือกหาแต่ผ้าบังสุกุล ครั้นได้แล้ว ซัก ย้อมเอง แล้วนุ่งห่ม [๘๙๘] บาปธรรมที่เศร้าหมองเหล่านี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้มักมาก ไม่สันโดษ ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และมีจิตฟุ้งซ่าน [๘๙๙] ส่วนภิกษุผู้มีสติ มักน้อย สันโดษ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีในวิเวก ชอบสงัด ปรารภความเพียรเป็นประจำ [๙๐๐] ย่อมมีแต่กุศลธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายให้ตรัสรู้เหล่านี้ ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ก็ตรัสว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอาสวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๙. อนุรุทธเถรคาถา

[๙๐๑] พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว เสด็จมาหาเราด้วยพระวรกายที่สำเร็จโดยมโนมยิทธิ๑- [๙๐๒] เมื่อใด เรามีความดำริ เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วก็เสด็จมาหาเราด้วยฤทธิ์ ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่เรา พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงธรรมที่ไม่เนิ่นช้าแก่เราไว้แล้ว [๙๐๓] เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์ ยินดีอยู่ในคำสอนของพระองค์ บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว [๙๐๔] ตั้งแต่เวลาที่เราถือการไม่นอนเป็นวัตรตลอด ๕๕ ปี กำจัดความง่วงเหงาหาวนอนได้ มาเป็นเวลา ๒๕ ปี พระอนุรุทธเถระ(เมื่อภิกษุทั้งหลายถามในเวลาที่พระศาสดาเสด็จดับขันธปริ- นิพพานว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วหรือยัง ได้ประกาศว่า พระผู้มีพระภาค ปรินิพพานแล้ว ด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า) [๙๐๕] พระผู้มีพระภาคผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่น คงที่ ไม่ได้มีลมหายใจเข้าหายใจออก พระองค์ไม่ทรงหวั่นไหว ปรารภความสงบ มีพระจักษุ เสด็จปรินิพพานแล้ว [๙๐๖] ทรงมีพระหฤทัยไม่หดหู่ อดกลั้นเวทนาได้ มีพระหฤทัยหลุดพ้นไป เหมือนดวงประทีปที่ลุกโชนแล้วก็ดับไป @เชิงอรรถ : @ ฤทธิ์ทางใจ ฤทธิ์ที่นิรมิตด้วยใจ (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๐๑/๓๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๙. อนุรุทธเถรคาถา

[๙๐๗] บัดนี้ ธรรมเหล่านี้ซึ่งมีสัมผัสเป็นที่ ๕ ของพระมหามุนีได้สิ้นสุดลง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว จิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่นจักไม่มีอีกต่อไป [๙๐๘] เทวดา บัดนี้ เราไม่มีการอยู่คือการอุบัติในหมู่เทพอีกต่อไป การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก [๙๐๙] ภิกษุใดรู้แจ้งมนุษยโลกเทวโลก พร้อมทั้งพรหมโลก ซึ่งมีประเภทตั้งพันได้ในกาลครู่เดียว ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในคุณคือฤทธิ์ ในจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเห็นเทพเจ้าทั้งหลายได้ในขณะที่เกิด [๙๑๐] ชาติก่อน เรามีชื่ออันนภาระ เป็นคนยากจน เที่ยวรับจ้างเลี้ยงชีพ ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้า ผู้สงบ ผู้มียศ [๙๑๑] เรานั้นเกิดในศากยสกุล พระประยูรญาติทรงขนานนามให้เราว่า อนุรุทธะ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง มีเสียงดนตรีที่บรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า [๙๑๒] ครั้นต่อมา เราได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ ทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์แล้วบวชเป็นบรรพชิต [๙๑๓] เรารู้จักขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมาก่อน เกิดเป็นท้าวสักกะในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๙. อนุรุทธเถรคาถา

[๙๑๔] ปราบไพรีให้พ่ายแพ้ ได้ครองราชเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอมมนุษย์ในชมพูทวีป ซึ่งมีสมุทรสาครทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ๗ ครั้ง ได้ปกครองปวงประชากรโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา [๙๑๕] ได้ระลึกชาติก่อนในคราวที่อยู่ในเทวโลกได้ ๑๔ ชาติ คือ ครั้งที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ชาติ ครั้งที่เป็นท้าวสักกะ ๗ ชาติ [๙๑๖] เมื่อสมาธิประกอบด้วยองค์๑- ๕ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ได้ความสงบระงับแล้ว ทิพยจักษุของเราจึงหมดจด [๙๑๗] เราดำรงมั่นอยู่ในฌานที่ประกอบด้วยองค์๒- ๕ จึงรู้จุติและอุบัติ การมา การไปของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น [๙๑๘] เราปรนนิบัติพระศาสดา ฯลฯ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว [๙๑๙] จะปรินิพพานอย่างไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นชีวิต ภายใต้พุ่มไม้ไผ่ใกล้เวฬุวคาม แคว้นวัชชี @เชิงอรรถ : @ องค์ ๕ คือ (๑) การแผ่ปีติ (๒) การแผ่สุข (๓) การแผ่จิต (๔) การแผ่แสงสว่าง @และ (๕) การพิจารณานิมิต (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๑๖/๓๘๓) @ ฌานที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ในที่นี้คือสมาธิประกอบด้วยองค์ ๕ นั่นเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๙๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๘๖-๔๙๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=26&siri=393              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=7834&Z=7898                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=393              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=393&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=8541              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=393&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=8541                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag16.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :