ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๓. หิริชาดก (๓๖๓)
ว่าด้วยความละอาย
(เศรษฐีชาวกรุงพาราณสีพูดกับคนทั้งหลายว่า) [๗๐] บัณฑิตพึงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีความละอาย เกลียดชังความเป็นมิตร กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตรของท่าน แต่ไม่เอื้อเฟื้อการงานที่เหมาะสมกับคำพูดว่า บุคคลผู้นี้มิใช่มิตรของเรา [๗๑] งานใดควรทำ พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด งานใดไม่ควรทำ ก็อย่าพูดถึงงานนั้นเลย คนไม่ทำ เอาแต่พูด บัณฑิตย่อมรู้ทัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต]

๒. วัณณาโรหวรรค ๔. ขัขโชปนกชาดก (๓๖๔)

[๗๒] ผู้ใดไม่ประมาท ระแวงการทำลายมิตร คอยจับผิดอยู่เสมอ ผู้นั้นหาใช่มิตรไม่ ส่วนผู้ใดผู้อื่นยุให้แตกกันมิได้ ไม่มีความระแวงในมิตรคนใด อยู่อย่างปลอดภัยเหมือนบุตรที่นอนแนบอกมารดา ผู้นั้นแหละนับว่าเป็นมิตรแท้ [๗๓] กุลบุตรเมื่อเห็นผลและอานิสงส์ เมื่อนำธุระ๑- อันเป็นของบุรุษไปอยู่ ชื่อว่าย่อมบำเพ็ญฐานะที่ทำความปราโมทย์ และความสุขอันนำความสรรเสริญมาให้ [๗๔] บุคคลดื่มรสอันเกิดเพราะความสงัด และรสแห่งความสงบชื่อว่าดื่มรสคือปีติในธรรม ย่อมไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป
หิริชาดกที่ ๓ จบ
๔. ขัชโชปนกชาดก (๓๖๔)
ว่าด้วยหิ่งห้อย
(เทวดาคุกคามพระราชาแล้วกล่าวสอนด้วยการยกขัชโชปนปัญหาดังนี้ว่า) [๗๕] ใครหนอ เมื่อไฟลุกโพลงอยู่ ยังเที่ยวแสวงหาไฟ ได้เห็นหิ่งห้อยในยามราตรี กลับสำคัญว่าไฟ [๗๖] เขาขยี้โคมัยและหญ้าให้เป็นจุรณ แล้วเกลี่ยลงบนหิ่งห้อยนั้น ก็ไม่อาจจะให้ไฟลุกโพลงได้ [๗๗] คนโง่เป็นดุจคนใบ้ แม้โดยอุบายไม่ถูกวิธีอย่างนี้ก็ไม่ได้ผล เหมือนคนรีดนมจากเขาโคย่อมไม่ได้น้ำนม @เชิงอรรถ : @ คำว่า ธุระ ในที่นี้ ได้แก่ ธุระ ๔ คือ ทาน ศีล ภาวนา มิตรภาพ (ขุ.ชา.อ. ๔/๗๓/๔๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=27&siri=363              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=27&A=3583&Z=3599                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=763              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=763&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=38&A=9850              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=763&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=38&A=9850                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja363/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :