ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. จูฬธนุคคหชาดก (๓๗๔)
ว่าด้วยจูฬธนุคคหบัณฑิต
(ภรรยาของจูฬธนุคคหบัณฑิตกล่าวกับนายโจรว่า) [๑๒๘] พราหมณ์ ท่านถือเอาห่อเครื่องประดับทั้งหมดข้ามฝั่งไปแล้ว จงรีบกลับมารับฉันข้ามไปจากฝั่งนี้โดยเร็ว ณ บัดนี้ (นายโจรได้ฟังดังนั้นยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นกล่าวว่า) [๑๒๙] นางผู้เจริญได้เปลี่ยนเอาเราผู้ไม่เคยเชยชิด กับชายผู้เคยเชยชิดกันมานาน นางผู้เจริญคงจะเปลี่ยนเอาชายอื่นผู้ไม่ใช่ขาประจำ กับเราผู้เป็นขาประจำแน่นอน เราจะไปจากที่นี้ให้ไกลแสนไกล (สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า) [๑๓๐] นี่ใครหัวเราะดังลั่นอยู่ที่พุ่มตะไคร่น้ำ ที่นี้ไม่มีการฟ้อนรำ ขับร้อง ปรบมือ ประโคมดนตรี นางผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย งดงาม เหตุไรหนอ ในเวลาที่ควรร้องไห้ เจ้ากลับหัวเราะ (ภรรยาของจูฬธนุคคหบัณฑิตกล่าวว่า) [๑๓๑] นี่สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทราม โง่เขลา เจ้ามีปัญญาน้อย เสื่อมสิ้นทั้งปลาทั้งชิ้นเนื้อแล้วซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า @เชิงอรรถ : @ คำว่า สูตร ในที่นี้ได้แก่ปริยัติ (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๒๗/๕๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต]

๓. อัฑฒวรรค ๕. กโปตกชาดก (๓๗๕)

(สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า) [๑๓๒] โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เจ้านั่นแหละเสื่อมสิ้นทั้งผัวทั้งชายชู้ ย่อมซบเซายิ่งกว่าเราเสียอีก (ภรรยาของจูฬธนุคคหบัณฑิตกล่าวว่า) [๑๓๓] พญาเนื้อผู้ต่ำทราม เรื่องนี้จริงดังที่ท่านพูด เรานั้นไปจากที่นี้แล้ว จักอยู่ในอำนาจของผัวอย่างเดียว (ท้าวสักกเทวราชสดับคำของนางผู้ทุศีลไร้อาจาระ จึงตรัสว่า) [๑๓๔] ผู้ใดลักถาดดินไปได้ ถึงถาดสำริดผู้นั้นก็ลักไปได้ บาปที่เจ้าได้กระทำแล้วนั่นแหละ เจ้าก็จักต้องกระทำมันอีก
จูฬธนุคคหชาดกที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๒๓-๒๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=27&siri=374              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=27&A=3777&Z=3795                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=818              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=818&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=38&A=10513              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=818&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=38&A=10513                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja374/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :