ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. กโปตกชาดก (๓๗๕)
ว่าด้วยนกพิราบโพธิสัตว์
(กาคิดจะกินปลา จึงกล่าวว่า) [๑๓๕] บัดนี้แหละเราสบายแล้ว ไม่มีโรค หมดเสี้ยนหนาม นกพิราบก็บินออกไปแล้ว บัดนี้ เราจะทำตามความพอใจ เพราะว่าเนื้อและผักที่เหลือจะทำให้เรามีกำลัง (นกพิราบกลับมาเห็นกาถูกถอนขนทาด้วยน้ำเปรียงเน่า จึงเยาะเย้ยว่า) [๑๓๖] นกยางอะไรนี่ มีหงอน เป็นโจร มีเมฆเป็นปู่ แม่นกยาง เจ้าจงลงมาข้างล่างนี้เถิด กาสหายของเราเป็นสัตว์ดุร้าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต]

๓. อัฑฒวรรค ๕. กโปตกชาดก (๓๗๕)

(กาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๑๓๗] ท่านอย่าหัวเราะเยาะ เพราะเห็นข้าพเจ้าถูกลูกชายพ่อครัวถอนขน แล้วทาด้วยผงเมล็ดผักกาด ผสมกากเปรียงเช่นนี้เลย (นกพิราบเย้ยหยันอยู่ว่า) [๑๓๘] ท่านอาบน้ำชำระกายดีแล้ว ลูบไล้ด้วยของหอมดีแล้ว อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ และที่คอของท่านก็ประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ท่านได้ไปถิ่นกชังคละมาหรือ (กาได้กล่าวว่า) [๑๓๙] มิตรก็ตาม ศัตรูก็ตามของท่าน อย่าได้ไปถิ่นกชังคละเลย เพราะคนในถิ่นกชังคละนั้น ถอนขนแล้วผูกกระเบื้องไว้ที่คอของเรา (นกพิราบกล่าวว่า) [๑๔๐] เพื่อนเอ๋ย เจ้าจักประสบความชั่วร้ายเช่นนี้อีก เพราะปกติของเจ้าเป็นเช่นนั้น อาหารของมนุษย์เป็นของที่นกไม่ควรกิน
กโปตกชาดกที่ ๕ จบ
อัฑฒวรรคที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต]

๓. อัฑฒวรรค รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้

รวมชาดกที่มีในวัณณาโรหวรรคและอัฑฒวรรค คือ
๑. วัณณาโรหชาดก ๒. สีลวีมังสชาดก ๓. หิริชาดก ๔. ขัขโชปนกชาดก ๕. อหิตุณฑิกชาดก ๖. คุมพิยชาดก ๗. สาลิยชาดก ๘. ตจสารชาดก ๙. มิตตวินทุกชาดก ๑๐. ปลาสชาดก ๑๑. ทีฆีติโกสลชาดก ๑๒. มิคโปตกชาดก ๑๓. มูสิกชาดก ๑๔. จูฬธนุคคหชาดก ๑๕. กโปตกชาดก
รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. มณิกุณฑลวรรค ๒. วัณณาโรหวรรค ๓. อัฑฒวรรค
ปัญจกนิบาต จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๒๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=27&siri=375              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=27&A=3796&Z=3824                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=825              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=825&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=38&A=10653              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=825&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=38&A=10653                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja375/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :