ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๔. ภูริปัญญชาดก (๔๕๒)
ว่าด้วยผู้มีปัญญากว้างขวาง
(พระราชาตรัสว่า) [๑๔๕] ท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ยินว่า คำที่ท่านอาจารย์เสนกกล่าวเป็นความจริง เพราะสิริ ความเพียร และปัญญาคุ้มครองท่าน ผู้ตกอยู่ในอำนาจของความเสื่อมไม่ได้ ท่านจึงต้องบริโภคก้อนข้าวเหนียวที่มีแกงน้อย (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๑๔๖] เราเมื่อเพิ่มพูนความสุขด้วยความลำบาก พิจารณาดูกาลอันควรไม่ควร จึงหลบซ่อนตามความพอใจ แต่ไม่ปิดช่องทางแห่งประโยชน์ ด้วยเหตุนั้น จึงพอใจกินข้าวเหนียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต]

๑๔. ภูริปัญญชาดก (๔๕๒)

[๑๔๗] อนึ่ง เรารู้เวลาที่จะทำความเพียร และเพิ่มพูนประโยชน์ด้วยปัญญาทั้งหลาย เยื้องย่างอย่างการเยื้องกรายแห่งราชสีห์ แม้ต่อไปท่านก็จะเห็นเราด้วยความสำเร็จอันนั้น (พระราชาเมื่อจะทรงทดลองบัณฑิต จึงตรัสว่า) [๑๔๘] ก็คนพวกหนึ่งแม้มีความสุขก็ไม่ทำความชั่ว คนอีกพวกหนึ่งเพราะกลัวการเกี่ยวข้อง กับการถูกติเตียนจึงไม่ทำความชั่ว ส่วนท่านเป็นผู้มีความคิดกว้างขวางมาก เพราะเหตุไร จึงไม่ก่อทุกข์ให้แก่เรา (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๑๔๙] ธรรมดาบัณฑิตไม่ประพฤติกรรมชั่วเพราะเหตุความสุขแห่งตน แม้ถูกความทุกข์กระทบถูกต้องพลั้งพลาดไป ก็สงบอยู่ได้ ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรักและความชัง (พระราชาตรัสมายากษัตริย์ว่า) [๑๕๐] บุคคลพึงยกตนที่ต่ำช้าขึ้นด้วยเหตุเล็กน้อยหรือรุนแรง อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ภายหลังพึงประพฤติธรรม (พระโพธิสัตว์แสดงอุปมาด้วยต้นไม้ว่า) [๑๕๑] บุคคลนั่งก็ตาม นอนก็ตามที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะว่าคนประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม [๑๕๒] คนผู้รู้แจ้งธรรมแต่สำนักอาจารย์ใด อนึ่ง การที่สัตบุรุษทั้งหลายกำจัดความสงสัยของคนผู้นั้นได้ นั่นแหละนับว่าเป็นที่พึ่ง ที่พำนักของเขา คนผู้มีปัญญาไม่พึงทำลายไมตรีกับอาจารย์นั้นเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต]

๑๕. มหามังคลชาดก (๔๕๓)

(พระโพธิสัตว์อนุศาสน์พระราชาว่า) [๑๕๓] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี [๑๕๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
ภูริปัญญชาดกที่ ๑๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๔๖-๓๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=27&siri=452              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=27&A=5906&Z=5938                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1463              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1463&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=10474              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1463&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=10474                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja452/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :