ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๓. ชวนหังสชาดก (๔๗๖)
ว่าด้วยพญาชวนหงส์
(พระราชาทรงเชื้อเชิญชวนพญาหงส์โพธิสัตว์ว่า) [๒๗] เจ้าจับอยู่ที่ตั่งทองนี้แหละพญาหงส์ ข้าพเจ้ารักที่จะเห็นท่าน ท่านมาเป็นเจ้าของสถานที่นี้แล้ว สิ่งที่มีอยู่ในพระราชนิเวศน์นี้ ท่านไม่รังเกียจ จงบอกมาให้เราทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต]

๓. ชวนหังสชาดก (๔๗๖)

(และทรงขอร้องว่า) [๒๘] เพราะการฟัง คนบางหมู่จึงเป็นที่รักของคนบางคน เพราะได้เห็น ความพอใจของคนบางคนจึงเสื่อมคลาย เพราะได้เห็นและเพราะได้ฟัง คนบางหมู่จึงเป็นที่รัก เพราะการเห็น ท่านรักใคร่ข้าพเจ้าบ้างไหม [๒๙] เพราะการฟัง ท่านจึงเป็นที่รักของข้าพเจ้า และเป็นที่รักยิ่ง เพราะได้มาพบกัน พญาหงส์ ท่านเป็นที่น่ารักน่าดูอย่างนี้สำหรับข้าพเจ้า ขอท่านจงอยู่ใกล้ๆ ข้าพเจ้าเถิด (พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๓๐] ข้าพเจ้าได้รับสักการบูชาอยู่เป็นนิตย์ พึงอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แต่บางคราวพระองค์ทรงมึนเมา จะพึงตรัสว่า จงย่างพญาหงส์ให้เรา (พระราชาตรัสให้ปฏิญาณว่า) [๓๑] น่าติเตียนจริง การดื่มน้ำเมา ซึ่งเป็นที่พอใจของข้าพเจ้ายิ่งกว่าท่าน เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มน้ำเมา ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในนิเวศน์ของข้าพเจ้า (พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๓๒] ขอเดชะพระราชา เสียงเหล่าสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนก็ดี เสียงเหล่านกร้องขันก็ดี รู้ได้ง่าย ส่วนถ้อยคำที่พวกมนุษย์เปล่งออกมา รู้ได้ยากกว่านั้น [๓๓] คนบางคนเบื้องต้นเป็นคนใจดี ย่อมนับถือกันว่า เป็นญาติ เป็นมิตร หรือเป็นเพื่อนอย่างนี้บ้าง ภายหลังกลายเป็นศัตรูไปก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต]

๓. ชวนหังสชาดก (๔๗๖)

[๓๔] ใจจดจ่ออยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแม้จะอยู่ไกลกันก็เหมือนอยู่ใกล้ ใจเหินห่างจากผู้ใด ผู้นั้นแม้จะอยู่ใกล้ก็เหมือนอยู่ไกล [๓๕] สหายผู้มีจิตเลื่อมใส ถึงจะอยู่ยังฟากฝั่งสมุทร ถ้ามีจิตเลื่อมใสต่อกัน ก็ชื่อว่าอยู่ใกล้กัน ส่วนสหายผู้มีจิตคิดประทุษร้ายถึงจะอยู่ใกล้ ถ้ามีจิตคิดประทุษร้ายต่อกัน ก็ชื่อว่าอยู่ยังฟากฝั่งสมุทร [๓๖] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมทัพ ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ ศัตรูถึงจะอยู่ร่วมกัน ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลกัน ส่วนบัณฑิตถึงจะอยู่ไกลกัน ก็ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะมีใจนึกถึงกัน [๓๗] เพราะการอยู่ร่วมกันนานเกินไป คนที่รักกันก็จะกลายเป็นไม่รักกัน เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ขอทูลลาไป ก่อนที่จะไม่เป็นที่รักของพระองค์ (พระราชาตรัสกับพระโพธิสัตว์ว่า) [๓๘] หากการประคองอัญชลีของข้าพเจ้าผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้ ท่านไม่ทราบและไม่ทำตามคำของข้าพเจ้าผู้ปรนนิบัติอยู่อย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอร้องท่านว่า โปรดแวะเวียนมาอีก (ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๓๙] ขอเดชะพระมหาราช ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ หากเราทั้งหลายยังอยู่ปกติอย่างนี้ แม้พระองค์และข้าพระองค์ก็จักไม่มีอันตราย วันคืนต่อๆ ไป เราคงจะได้พบกันบ้างหรอก
ชวนหังสชาดกที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๐๐-๔๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=27&siri=476              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=27&A=6840&Z=6880                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1751              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1751&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=3296              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1751&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=3296                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja476/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :