ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. อุททาลกชาดก (๔๘๗)
ว่าด้วยอุททาลกดาบส
(พระราชาทรงสนทนากับปุโรหิตว่า) [๖๒] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก สาธยายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์ จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ (ปุโรหิตกราบทูลว่า) [๖๓] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็นพหูสูต กระทำแต่กรรมชั่ว ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่บรรลุจรณธรรม๑- ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ @เชิงอรรถ : @ จรณธรรม ในที่นี้ ได้แก่ สมาบัติ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๖/๖๓/๒๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๔. อุททาลกชาดก (๔๘๗)

(อุททาลกดาบสกล่าวกับปุโรหิตว่า) [๖๔] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ อาตมาเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็นสิ่งที่ไร้ผล จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ (ปุโรหิตกล่าวว่า) [๖๕] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่ จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ (อุททาลกดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๖๖] มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ทั้งหลายที่บุคคลจะต้องเลี้ยงดู บุตรเกิดแต่ผู้ใด เขาก็คือผู้นั้นนั่นเอง อาตมาชื่อว่าอุททาลกะ เป็นวงศ์แห่งโสตถิยสกุลของท่าน (พราหมณ์ถามถึงธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า) [๖๗] ท่านผู้เจริญ คนจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร และคนผู้ทรงธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร (อุททาลกดาบสตอบว่า) [๖๘] เพราะก่อไฟบูชาอยู่เนืองๆ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลเมื่อรดน้ำบูชายัญและให้ยกเสาบูชายัญ จึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์เต็มตัว พราหมณ์ผู้บำเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้เกษม เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกว่าผู้ดำรงอยู่ในธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๔. อุททาลกชาดก (๔๘๗)

(ปุโรหิตตำหนิธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า) [๖๙] ความบริสุทธิ์ย่อมมีเพราะการรดน้ำก็หาไม่ แม้จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวก็หาไม่ ขันติและโสรัจจะก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น แม้เขาชื่อว่าได้ปรินิพพานเพราะดับกิเลสก็หาไม่ (อุททาลกดาบสถามว่า) [๗๐] บุคคลจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร (ปุโรหิตบอกว่า) [๗๑] บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีเผ่าพันธุ์ ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง หมดความโลภอันเป็นบาป มีความโลภในภพหมดสิ้นแล้ว ผู้บำเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าผู้มีความเกษม เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม (อุททาลกดาบสกล่าวว่า) [๗๒] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น ยังจะมีคนดีและคนชั่วอีกไหมหนอ (พราหมณ์กล่าวว่า) [๗๓] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็นย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๕. ภิสชาดก (๔๘๘)

(อุททาลกดาบสติเตียนพราหมณ์ว่า) [๗๔] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว [๗๕] เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น ย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะประพฤติให้เสียความเป็นพราหมณ์ วงศ์แห่งโสตถิยสกุลทำไม (ปุโรหิตเปรียบเทียบให้เข้าใจว่า) [๗๖] วิมานที่คลุมด้วยผ้าซึ่งย้อมด้วยสีต่างๆ ผ้าเหล่านั้นมีแต่เงา สีที่ย้อมนั้นหาปรากฏไม่ [๗๗] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน เมื่อใดคนทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เป็นผู้มีวัตรดีเพราะรู้ทั่วถึงธรรม เมื่อนั้นพวกเขาย่อมปล่อยวางชาติของตนเสียได้
อุททาลกชาดกที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๓๒-๔๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=27&siri=487              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=27&A=7380&Z=7428                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1907              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1907&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=5636              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1907&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=5636                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja487/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :