ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
ว่าด้วยหงส์สุมุขะผู้ภักดีต่อพญาหงส์จูฬหังสะ
(พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาหงส์ทองเมื่อจะทดลองใจหงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า) [๑๓๓] ฝูงหงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคาม มีความกลัวจนต้องบินหนีไป ท่านสุมุขะผู้มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดังทองคำ ท่านจงบินหนีไปตามความประสงค์เถิด [๑๓๔] เราผู้เดียวติดบ่วงอยู่ หมู่ญาติทั้งหลายไม่เหลียวแล พากันละทิ้งบินหนีไป ไยเล่ายังเหลือเจ้าอยู่แต่ตัวเดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)

[๑๓๕] ท่านสุมุขะผู้ประเสริฐโผบินไปเถอะ เพราะความเป็นสหายไม่มีในผู้ติดบ่วงหรอก ท่านอย่าทำความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ให้เสื่อมเสียไปเลย จงบินหนีไปตามความประสงค์เถิด (หงส์สุมุขะเสนาบดีจับที่หลังเปือกตมกล่าวว่า) [๑๓๖] ท้าวธตรัฏฐะ ข้าพระองค์จะไม่ละทิ้งพระองค์ไป เพราะเหตุเพียงเท่านี้ว่า พระองค์ต้องประสบทุกข์ ข้าพระองค์จะอยู่จะตายกับพระองค์ (พญาหงส์ธตรัฏฐะกล่าวว่า) [๑๓๗] ท่านสุมุขะ คำใดที่ท่านกล่าวออกมา คำนั้นเป็นคำอันดีงามของอริยชน แต่เราเมื่อจะทดลองท่าน จึงได้กล่าวคำนั้นออกไปว่า จงบินหนีไปเสียเถิด (ฝ่ายบุตรนายพรานเข้าไปหาพญาหงส์แล้วกล่าวว่า) [๑๓๘] ท่านผู้ประเสริฐอุดมกว่าหงส์ทั้งหลาย วิสัยปักษาทิชาชาติตัวผงาดสัญจรไปในอากาศ ย่อมทำอากาศที่ไม่ใช่ทางให้เป็นทางบินไปได้ ท่านไม่ทราบว่ามีบ่วงแต่ที่ไกลหรือ (พญาหงส์โพธิสัตว์กล่าวว่า) [๑๓๙] เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต เมื่อนั้นถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้ (นายพรานชื่นชมถ้อยคำของพญาหงส์ จึงสนทนากับพญาหงส์สุมุขะว่า) [๑๔๐] ฝูงหงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคาม มีความกลัวจนต้องบินหนีไป ท่านผู้มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดังทองคำ ท่านเท่านั้นยังเหลืออยู่ [๑๔๑] นกทั้งหลายเหล่านั้นกินดื่มแล้วก็บินไป ไม่เหลียวแล ท่านผู้เดียวเท่านั้นยังอยู่ใกล้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)

[๑๔๒] นกตัวนี้เป็นอะไรกับเจ้าหนอ พ้นไปแล้วยังเข้าไปใกล้นกตัวติดบ่วง นกทั้งหลายพากันทอดทิ้งบินหนีไป ไยเล่ายังเหลือเจ้าอยู่แต่ตัวเดียว (หงส์สุมุขะเสนาบดีกล่าวว่า) [๑๔๓] นกตัวนั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า เป็นทั้งมิตรเป็นทั้งเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ละทิ้งท่านไปตราบจนวันตาย (นายพรานฟังดังนั้นแล้วมีจิตเลื่อมใส คิดจะปล่อยพญาหงส์ที่ติดบ่วง จึงกล่าวว่า) [๑๔๔] ก็เจ้าประสงค์จะสละชีวิตเพราะเหตุแห่งเพื่อน เรายอมปล่อยสหายของเจ้า ขอพญาหงส์จงตามเจ้าไปเถิด (หงส์สุมุขะเสนาบดีมองดูพระโพธิสัตว์มีจิตยินดี จึงอนุโมทนาแก่นายพรานว่า) [๑๔๕] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาหงส์ผู้เป็นใหญ่กว่านก พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด (พญาหงส์ทูลถามพระราชาว่า) [๑๔๖] พระองค์ทรงพระเกษมสำราญแลหรือ มีพระอนามัยสมบูรณ์แลหรือ รัฐสีมารุ่งเรืองแลหรือ พระองค์ทรงอนุศาสน์พร่ำสอนพสกนิกรโดยธรรมแลหรือ (พระราชาตรัสว่า) [๑๔๗] พญาหงส์ เราสุขเกษมสำราญดี อนามัยก็สมบูรณ์ดี อนึ่ง รัฐสีมาก็รุ่งเรือง และเราก็อนุศาสน์พร่ำสอนพสกนิกรโดยธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)

(พญาหงส์ทูลถามว่า) [๑๔๘] โทษบางประการในหมู่อำมาตย์ของพระองค์ไม่มีแลหรือ อนึ่ง พระองค์มีศัตรูหมู่อมิตรอยู่ห่างไกล ดุจพระฉายาด้านทิศทักษิณแลหรือ (พระราชาตอบว่า) [๑๔๙] แม้โทษบางประการในหมู่อำมาตย์ของเราก็ไม่มี อนึ่ง เรามีศัตรูหมู่อมิตรอยู่ห่างไกลดุจเงาด้านทิศทักษิณ (พญาหงส์ทูลถามว่า) [๑๕๐] พระองค์ทรงมีพระมเหสีที่เหมาะสมอยู่ในพระโอวาท มีพระเสาวนีย์ที่น่ารัก ถึงพร้อมด้วยพระโอรส พระรูป และพระยศ อยู่ในพระอำนาจตามความพอพระทัย ของพระองค์แลหรือ (พระราชาตอบว่า) [๑๕๑] ถูกแล้ว เรามีมเหสีที่เหมาะสมอยู่ในโอวาท มีดำรัสที่น่ารัก ถึงพร้อมด้วยปุตตสมบัติ รูปสมบัติ และยศสมบัติ อยู่ในอำนาจตามความพอใจของเรา (พญาหงส์ทูลถามว่า) [๑๕๒] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ พระราชบุตรจำนวนมากของพระองค์ ทรงสมภพมาดีแล้ว ถึงพร้อมด้วยพระปรีชาเฉลียวฉลาด ยังทรงพากันรื่นเริงบันเทิงพระทัยอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ แลหรือ (พระราชาตอบว่า) [๑๕๓] ท้าวธตรัฏฐะ บุตรของเรา ๑๐๑ พระองค์ปรากฏแล้วเพราะเรา ขอท่านโปรดชี้แจงกิจที่พึงกระทำแก่พวกเขาด้วยเถิด พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนคำของท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)

(พญาหงส์พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสแล้วได้ถวายโอวาทแก่พระราชบุตร เหล่านั้นว่า) [๑๕๔] แม้ถ้าว่ากุลบุตรผู้เข้าถึงโดยชาติกำเนิดหรือโดยวินัย แต่ประกอบความเพียรในภายหลัง เขาย่อมตกอยู่ในห้วงแห่งอันตรายที่แก้ไขได้ยาก [๑๕๕] ช่องโหว่อันใหญ่หลวงย่อมเกิดแก่เขาผู้มีปัญญาง่อนแง่น เหมือนคนผู้ตกอยู่ในความมืดแห่งราตรี ย่อมเห็นได้แต่รูปหยาบๆ เท่านั้น [๑๕๖] ส่วนกุลบุตรผู้รู้แต่การประกอบความเพียร ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เขาจะไม่ประสบความรู้เลย ย่อมตกอยู่ในห้วงอันตรายอย่างเดียวเหมือนกวางที่ตกอยู่ที่ซอกเขา [๑๕๗] แม้หากว่าคนผู้มีชาติสกุลต่ำ แต่เป็นคนมีความขยันหมั่นเพียร มีปัญญา สมบูรณ์ด้วยอาจาระและศีล ก็ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟในราตรี [๑๕๘] ขอพระองค์ทรงทำข้อที่ข้าพระองค์กล่าวแล้วนั้น ให้เป็นข้อเปรียบเทียบ แล้วทรงให้พระราชบุตรดำรงอยู่ในวิชา กุลบุตรผู้มีปัญญาย่อมงอกงามเหมือนพืชในนางอกงามเพราะน้ำฝน
จูฬหังสชาดกที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๙๓-๔๙๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=27&siri=502              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=27&A=8400&Z=8465                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2124              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=2124&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=1373              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=2124&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=1373                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja502/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :