ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงปฏิสัมภิทาญาณ
[๗๖] ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรม ต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่างๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัม- ภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร คือ สัทธินทรีย์ชื่อว่าธรรม วิริยินทรีย์ชื่อว่าธรรม สตินทรีย์ชื่อว่าธรรม สมาธินทรีย์ชื่อว่าธรรม ปัญญินทรีย์ชื่อว่าธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรม อย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (๑) สภาวะที่น้อมไปชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เข้าไป ตั้งไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ น้อมไปเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เข้าไป ตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เห็น เป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในอรรถต่างๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (๒) การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในนิรุตติต่างๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณ ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน ปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (๔) [๗๗] สัทธาพละชื่อว่าธรรม วิริยพละชื่อว่าธรรม สติพละชื่อว่าธรรม สมาธิพละชื่อว่าธรรม ปัญญาพละชื่อว่าธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรม อย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะความเกียจคร้านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทชื่อว่า อรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะ อวิชชาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเป็น อรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจร รู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ นั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่าอัตถ- ปฏิสัมภิทาญาณ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ ต่างๆ เหล่านั้นด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน นิรุตติต่างๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม วิริยสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าธรรม ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สมาธิ- สัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม อย่างหนึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์เป็นธรรม อย่างหนึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรม อย่างหนึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรม อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรม ต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เลือกเฟ้นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้ ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่แผ่ซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่สงบชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่พิจารณาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เลือกเฟ้นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่แผ่ซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่สงบเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่พิจารณาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้น นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ การระบุพยัญชนะ และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน นิรุตติต่างๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๔ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ สัมมาทิฏฐิชื่อว่าธรรม สัมมาสังกัปปะชื่อว่าธรรม สัมมาวาจาชื่อว่าธรรม สัมมากัมมันตะชื่อว่าธรรม สัมมาอาชีวะชื่อว่าธรรม สัมมาวายามะชื่อว่าธรรม สัมมาสติชื่อว่าธรรม สัมมาสมาธิชื่อว่าธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมากัมมันตะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมา- อาชีวะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาวายามะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิเป็นธรรม อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในธรรมต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตรึกตรองชื่อว่าอรรถ สภาวะที่กำหนดไว้ ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เป็นสมุฏฐานชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ผ่องแผ้วชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตรึกตรองเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ กำหนดไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เป็นสมุฏฐานเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ ผ่องแผ้วเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตั้งมั่น เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถ ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส

การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ การระบุพยัญชนะ และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน นิรุตติต่างๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในธรรม ๘ ประการ ญาณในอรรถ ๘ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๖ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรมต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่างๆ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ ๒๕-๒๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๒๗-๑๓๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=2130&Z=2233                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=186              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=186&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7178              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=186&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7178                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :