ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๘. วิปัลลาสกถา

๘. วิปัลลาสกถา
ว่าด้วยวิปัลลาส
[๒๓๖] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส (ความหมายรู้ผิด) จิตตวิปัลลาส (ความคิดผิด) ทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นผิด) ๔ ประการนี้ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๒. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา ๔. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการนี้แล นสัญญาวิปัลลาส (ความหมายรู้ไม่ผิด) นจิตตวิปัลลาส (ความคิดไม่ผิด) นทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นไม่ผิด) ๔ ประการนี้ นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ๒. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นทุกข์ ๓. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา ว่าไม่ใช่อัตตา ๔. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งาม ว่าไม่งาม ภิกษุทั้งหลาย นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๘. วิปัลลาสกถา

เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย มีจิตฟุ้งซ่าน มีสัญญาผิด มีสัญญาในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง มีสัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข มีสัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างาม สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร ไม่เกษมจากโยคะ ประสบกับความเกิดและความตาย ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าผู้จุดประกายให้แสงสว่าง เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประกาศธรรมนี้ ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์ สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงโดยความไม่เที่ยง ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความไม่งาม ยึดถือสัมมาทิฏฐิพ้นทุกข์ทั้งหมดได้ วิปัลลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑- ละได้แล้วก็มี ยังละ ไม่ได้ก็มี บางประการละได้แล้ว บางประการยังละไม่ได้ สัญญาวิปัลลาส จิตต- วิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว สัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นสุขยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาสละได้แล้ว สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาสในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตาละได้แล้ว สัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างามยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่ไม่งามว่างามก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาส @เชิงอรรถ : @ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระโสดาบัน (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๙. มัคคกถา

(ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม)ละได้แล้ว วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๑- วิปัลลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๒- วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้๓- วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว๔- วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้
วิปัลลาสกถา จบ
๙. มัคคกถา
ว่าด้วยมรรค
[๒๓๗] คำว่า มรรค อธิบายว่า ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะว่าอย่างไร คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น เป็น มรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำ กิเลสทั้งหลาย๕- เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต @เชิงอรรถ : @ วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๓ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ @ทิฏฐิวิปัลลาส คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ อนิจฺเจ นิจฺจํ (สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง) และ อนตฺตนิ อตฺตา @(สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา) เป็นวิปัลลาส ๖ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญาวิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส @(๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส (๖) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณ @ตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ วิปัลลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงทิฏฐิวิปัลลาส ๑ ประการ คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ @ทุกฺเข สุขํ (สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) และ อสุเภ สุภํ (สิ่งที่ไม่งามว่างาม) เป็นวิปัลลาส ๒ ประการ ได้แก่ @(๑) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๒) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้ หมายถึงวิปัลลาส ๒ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส กับ จิตตวิปัลลาส ในวัตถุ ๒ @คือ ทุกฺเข สุขํ (สภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) อสุเภ สุภํ (สภาวะที่ไม่งามว่างาม) ประการละ ๒ วิปัลลาส @(๒ x ๒ เป็น ๔ วิปัลลาส) ได้แก่ (๑) สุขสัญญาวิปัลลาส (๒) สุภสัญญาวิปัลลาส (๓) สุขจิตตวิปัลลาส @(๔) สุภจิตตวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๘ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๖ ประการ ในวัตถุ ๒ (ในเชิงอรรถที่ ๒) รวมกับ @วิปัลลาส ๒ ประการ ในวัตถุ ๒ ประการ (ในเชิงอรรถที่ ๓) เป็นวิปัลลาส ๘ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญา- @วิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส (๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส @(๖) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๗) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (๘) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย หมายถึงทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๗/๒๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=67              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=7274&Z=7310                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=525              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=525&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=4666              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=525&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=4666                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :