ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

๖. ปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร๑-
วาระว่าด้วยการประกาศธรรมจักร
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็น ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้นั้นตถาคต ตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อม เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็น อย่างไร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓-๑๗/๒๐-๒๕, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๙๒-๕๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้๑- ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้ คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ ความประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากอารมณ์อันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วย ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา @เชิงอรรถ : @ องค์มรรคแต่ละข้อมีนัยพิสดาร ดังนี้ @๑. สัมมาทิฏฐิ หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ เห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท @๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึงความนึกคิดในทางสละปลอดจากกาม ความนึกคิดปลอดจากพยาบาทและ @ความนึกคิดปลอดจากการเบียดเบียน @๓. สัมมาวาจา หมายถึงพูดคำสัตย์ ไม่พูดส่อเสียด พูดคำอ่อนหวาน พูดสิ่งมีสาระ @๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึงไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม @๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึงเว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาอาชีพ @๖. สัมมาวายามะ หมายถึงเพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพียรกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำ @ความดีให้เกิด เพียรรักษาความดีไว้ @๗. สัมมาสติ หมายถึงพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม @๘. สัมมาสมาธิ หมายถึงฌาน ๔ @(ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๒๙/๒๕๘, ๔๐๒/๓๓๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๐๕/๑๗๑, ๔๘๖/๓๗๑, ๔๘๘-๔๙๐/๓๗๓, @๔๙๘/๓๗๗, ๕๐๔/๓๘๐, ม.อ. ๑๔/๓๒๕/๒๙๗, ๓๗๕/๓๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ คือความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้คืออริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกข- อริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า “ทุกขอริยสัจนี้เรากำหนดรู้แล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทย- อริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทย- อริยสัจนี้ควรละ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้เราละได้แล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ- อริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ- อริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราทำให้แจ้งแล้ว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาอริยสัจ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว” ภิกษุทั้งหลาย ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ๑- ๑๒ อาการ๒- อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา- สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา- สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่ เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณ์๓- นี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสเวยยากรณ์นี้อยู่ ธัมมจักขุ๔- อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” @เชิงอรรถ : @ ๓ รอบ ได้แก่ (๑) สัจจญาณ (๒) กิจจญาณ (๓) กตญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓) @ ๑๒ อาการ ได้แก่ บรรดาสัจจะ ๔ (ทุกข์,ทุกขสมุทัย, ทุกขนิโรธ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) แต่ละสัจจะมี @อาการอย่างละ ๓ จึงรวมเป็น ๑๒ อาการ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓) @ เวยยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา ประกอบด้วยคำถามคำตอบ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๖/๒๒๐) @เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์ (วิ.อ. ๑/๒๖) @ ธัมมจักขุ หมายถึงดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ (วิ.อ. ๓/๕๖/๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เทพชั้นภุมมะกระจาย ข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” เทพชั้นจาตุมหาราชได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นภุมมะแล้ว ได้กระจาย ข่าวต่อไป ฯลฯ เทพชั้นดาวดึงส์ได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ได้กระจาย ข่าวต่อไป ฯลฯ เทพชั้นยามา ฯลฯ เทพชั้นดุสิต ฯลฯ เทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจายข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” โดยขณะ๑- ครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ก็ปรากฏในโลก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า “อัญญา- โกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล @เชิงอรรถ : @ ดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง เป็น ๑ ขณะ, ๑๐ ขณะ เป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะ เป็น ๑ ขณลยะ, ๑๐ ขณลยะ เป็น ๑ ครู่ @(อภิธา.ฏี.คาถา ๖๖-๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ” คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้น แล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมม- ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ ของธัมมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่าธัมมปฏิสัมภิทา สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่ รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ- ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ ของนิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ- ปฏิสัมภิทา ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ- ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ นั้นแลควรกำหนดรู้” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว” คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ สว่างไสว จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม- ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร

สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่ รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ- ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติ- ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นควรละ” ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ นั้นเราละได้แล้ว” ฯลฯ ในทุกขสมุทยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น ควรทำให้แจ้ง” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธ- อริยสัจนี้นั้นเราทำให้แจ้งแล้ว” ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น ควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มี ญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐
๒. สติปัฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่ เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การ พิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว” คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ สว่างไสว จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม- ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่ รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็น โคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร

เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และเป็น โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณ ในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มี นิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิต ในจิต” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ นั้นควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญ แล้ว” ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร

ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มี อรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐
๓. อิทธิปาทวาร
วาระว่าด้วยอิทธิบาท
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน- สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา- สมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร

ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน- สังขารนี้นั้น เราเจริญแล้ว” คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ สว่างไสว จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม- ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่ รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ ในอรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ- ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร

เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ นิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ- ปฏิสัมภิทา ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ- ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาท อันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน- สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ ด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอิทธิบาท ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๔. สัตตโพธิสัตตวาร

๔. สัตตโพธิสัตตวาร
วาระว่าด้วยพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระ วิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ภิกษุ ทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระวิปัสสี- โพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโกนาคมนโพธิสัตว์ ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ นิโรธ” ฯลฯ ในเวยยากรณ์ของพระกัสสปโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระโคดมโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ในเวยยากรณ์ ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ ๗๐ มี นิรุตติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๖. ขันธาทิวาร

๕. อภิญญาทิวาร
วาระว่าด้วยอภิญญาเป็นต้น
[๓๔] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบ แล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่ควรรู้ยิ่ง มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่ง ปริญญา” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรเจริญแห่ง ภาวนา” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่ง สัจฉิกิริยา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในสภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในสภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา ใน สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ ในสภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา ในสภาวะที่ควร ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐
๖. ขันธาทิวาร
วาระว่าด้วยขันธ์เป็นต้น
[๓๕] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เห็นแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. สัจจวาร

ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็น กองแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ ทั้งหลาย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่ง อายตนะทั้งหลาย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง แห่งสังขตธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง แห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย ปัญญา สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่ง อสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในสภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในสภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในสภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขต- ธรรมทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มี อรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐
๗. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[๓๖] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ทนได้ยาก แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่ง สมุทัย” ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๘. ปฏิสัมภิทาวาร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นความดับแห่ง นิโรธ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะ ที่เป็นทางแห่งมรรคที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วย ปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐
๘. ปฏิสัมภิทาวาร
วาระว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[๓๗] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉาน ในอรรถ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่แตกฉานในอรรถที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่แตกฉานในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในธรรม แห่งธัมมปฏิสัมภิทา” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในนิรุตติ แห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานใน ปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๖. ปฏิสัมภิทากถา ๙. ฉพุทธธัมมวาร

๙. ฉพุทธธัมมวาร
วาระว่าด้วยพุทธธรรม ๖ ประการ
[๓๘] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในความยิ่ง และความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้ แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของ สัตว์ทั้งหลายที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี” ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในอาสยะและอนุสัย ของสัตว์ทั้งหลาย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในยมกปาฏิหาริย์” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในมหากรุณาสมาบัติ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สัพพัญญุตญาณ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “อนาวรณญาณเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อนาวรณญาณที่ เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” อนาวรณ- ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในพุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุตติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐ ในปฏิสัมภิทากถานี้ มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุตติ ๑,๗๐๐ มีญาณ ๓,๔๐๐
ปฏิสัมภิทากถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๘๒-๕๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=75              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=8833&Z=9126                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=598              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=598&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5626              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=598&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5626                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :