ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก ๒. เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ ๓. เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล [๓๕] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองปฐวีธาตุโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็น โดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความ เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ ให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม ละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็น กายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกาย ในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา นั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น อย่างเดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ ธรรมนั้นเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ ฯลฯ กองเตโชธาตุ ฯลฯ กองวาโยธาตุ ฯลฯ กองผม ฯลฯ กองขน ฯลฯ กองผิว ฯลฯ กองหนัง ฯลฯ กองเนื้อ ฯลฯ กองเอ็น ฯลฯ กองกระดูก ฯลฯ พิจารณาเห็นกองไขกระดูก โดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละ สุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อ เบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ (๑) ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง ไม่ พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้นและด้วย ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ อาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น และด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ (๒) ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตมีราคะโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็น โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะ เหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตที่ปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่ ฯลฯ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมี จิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตตั้งมั่น ฯลฯ จิตไม่ตั้งมั่น ฯลฯ จิตหลุดพ้น ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความ เที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละ นิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วย อาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ พิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ (๓) ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ อย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เว้นกาย เว้นเวทนา เว้นจิตแล้วพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อม ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๙. วิปัสสนากถา

ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วย สตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา นั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น อย่างเดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม นั้นเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล (๔)
สติปัฏฐานกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๙๒-๕๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=87              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=10710&Z=10811                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=726              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=726&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8222              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=726&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8222                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :