ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน

๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค
หมวดว่าด้วยพระสกิงสัมมัชชกะเป็นต้น
๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสกิงสัมมัชชกเถระ
(พระสกิงสัมมัชชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นไม้อันเลิศชื่อว่าปาฏลิ(แคฝอย) ซึ่งเป็นต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้อันสูงสุด ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี แล้วทำใจให้เลื่อมใสในต้นไม้นั้น [๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถือเอาไม้กวาดมากวาดบริเวณที่ตรัสรู้ ครั้นแล้วได้ไหว้ต้นปาฏลิอันเป็นสถานที่ตรัสรู้นั้น [๓] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในต้นปาฏลินั้น ประนมมือเหนือศีรษะ นมัสการต้นโพธิ์นั้นแล้วกลับไปยังกระท่อม [๔] ข้าพเจ้าเดินนึกถึงต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ อันสูงสุดไปตามหนทางสัญจร งูเหลือมตัวร้ายกาจมีกำลังมากรัดข้าพเจ้า [๕] กรรมที่ข้าพเจ้าทำในเวลาใกล้ตาย ได้ทำให้ข้าพเจ้ายินดีด้วยผล(ของกรรมนั้น) งูเหลือมกลืนกินร่างข้าพเจ้า ข้าพเจ้า(ตายไปแล้ว)รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก [๖] จิตของข้าพเจ้าไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ผ่องใสในกาลทุกเมื่อ ข้าพเจ้าไม่รู้จักลูกศรคือความเศร้าโศก ที่เป็นเหตุทำจิตของข้าพเจ้าให้เร่าร้อนเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน

[๗] ข้าพเจ้าไม่มีโรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคลมบ้าหมู คุดทะราด หิดเปื่อย และหิดด้าน นี้เป็นผลแห่งการกวาด [๘] ความเศร้าโศก ความเร่าร้อนไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า จิตของข้าพเจ้าเที่ยงตรง ไม่วอกแวก นี้เป็นผลแห่งการกวาด [๙] ข้าพเจ้าเข้าถึงสมาธิ ใจก็บริสุทธิ์ สมาธิที่ข้าพเจ้าปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ข้าพเจ้า [๑๐] ข้าพเจ้าไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และไม่ลุ่มหลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง นี้เป็นผลแห่งการกวาด [๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการกวาด(บริเวณที่ตรัสรู้) [๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน

[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระสกิงสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สกิงสัมมัชชกเถราปทานที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๓๑-๓๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=33&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=377&Z=402                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=11              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=11&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5493              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=11&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5493                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap423/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :