ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๕. นันทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๔๓] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๕. นันทกเถราปทาน

[๑๔๔] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เป็นบุรุษอาชาไนย ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก [๑๔๕] พระชินเจ้า ผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ มีพระสิริ ประดับด้วยพระเกียรติคุณ คนทั่วโลกบูชา ปรากฏไปทุกทิศ [๑๔๖] พระองค์ทรงข้ามพ้นวิจิกิจฉา ล่วงพ้นความสงสัย มีใจดำริบริบูรณ์ ทรงบรรลุสัมโพธิญาณที่ยอดเยี่ยม [๑๔๗] ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่านรชน ตรัสบอกสิ่งที่บุคคลอื่นยังไม่เคยบอก และทรงทำสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีพร้อม [๑๔๘] ทรงรู้จักทาง ทรงเข้าใจทางอย่างแจ่มแจ้ง ตรัสบอกทางให้ ทรงองอาจกว่านรชน ทรงฉลาดในทาง ทรงเป็นพระศาสดา เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่านรชนผู้เป็นนายสารถีทั้งหลาย [๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำ ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาได้แสดงธรรม ทรงช่วยดึงหมู่สัตว์ผู้จมลงแล้วในเปือกตมคือโมหะขึ้น [๑๕๐] พระมหามุนีทรงสรรเสริญสาวก ผู้ที่ชาวโลกยกย่องว่าประเสริฐในการกล่าวสอนภิกษุณีทั้งหลาย ได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ [๑๕๑] ข้าพเจ้าได้ฟังการสรรเสริญนั้นแล้วก็พลอยยินดี จึงทูลนิมนต์พระตถาคตพร้อมทั้งพระสงฆ์ ให้เสวยและฉันภัตตาหารแล้ว ปรารถนาตำแหน่งที่สูงสุดนั้น [๑๕๒] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นที่พึ่ง ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงเบิกบานพระทัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๕. นันทกเถราปทาน

ได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืนเถิด ท่านจักได้ตำแหน่งนั้นสมความปรารถนา [๑๕๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๑๕๔] ท่านจักมีนามว่านันทกะ เป็นธรรมทายาทเป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น [๑๕๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๑๕๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี ที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี [๑๕๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสุคตในเวลาเสด็จเข้านคร เป็นผู้มีความอัศจรรย์ใจ ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในวันที่พระองค์ทรงรับพระอารามชื่อว่าเชตวัน [๑๕๘] จากนั้นไม่นานข้าพเจ้าได้รับการสั่งสอน จากพระศาสดาผู้รู้แจ้งธรรม จึงข้ามพ้นสังสารวัฏไปได้ บรรลุอรหัตตผล [๑๕๙] ข้าพเจ้ากระทำการสอบถามธรรมกถาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีที่ข้าพเจ้าสอนนั้น ล้วนได้เป็นผู้ไม่มีอาสวะ [๑๖๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล อันใหญ่หลวง ทรงพอพระทัย จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ กว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายผู้กล่าวสอนภิกษุณีจำนวน ๙๕ รูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๖. กาฬุทายีเถราปทาน

[๑๖๑] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้ ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส) ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว [๑๖๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๖๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๑๖๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระนันทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นันทกเถราปทานที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๓๐๙-๓๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=33&siri=135              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=3720&Z=3762                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=135              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=135&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=6786              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=135&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=6786                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap547/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :