ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๘. สุจินติตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุจินติตเถระ
(พระสุจินติตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๐๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวนาอยู่ในกรุงหงสวดี เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม เลี้ยงดูบุตรภรรยาด้วยกสิกรรมนั้น [๑๐๘] ครั้งนั้น นาของข้าพเจ้าสมบูรณ์ดี ข้าวของข้าพเจ้าออกรวงแล้ว เมื่อถึงเวลาข้าวสุก บัดนั้น ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า [๑๐๙] การที่เรารู้คุณโทษอยู่ ไม่ได้ถวายสงฆ์ บริโภคส่วนเลิศด้วยตนเอง เป็นการไม่เหมาะ ไม่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๘. สุจินติตเถราปทาน

[๑๑๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน๑- ในโลก ผู้ทรงพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒- และพระสงฆ์ผู้ถือกำเนิด จากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม [๑๑๑] เราจักถวายข้าวใหม่เป็นทาน แด่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์เป็นปฐมฤกษ์ ครั้นคิดเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้มีใจร่าเริง ปลาบปลื้มด้วยปีติ [๑๑๒] จึงนำข้าวเปลือกมาจากนา เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้ทรงองอาจกว่านรชน กราบพระยุคลบาทพระศาสดาแล้ว กราบทูลคำนี้ว่า [๑๑๓] “ข้าแต่พระมุนี ข้าวใหม่สมบูรณ์แล้ว ทั้งพระองค์ก็ยังประทับอยู่ ณ ที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณารับเถิด” [๑๑๔] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน หมายถึงไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยม @(ขุ.อป.อ. ๑/๕๖/๑๓๓) @ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๘. สุจินติตเถราปทาน

[๑๑๕] บุรุษบุคคลผู้กำลังปฏิบัติ ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้ คือสงฆ์ เป็นผู้ซื่อตรง มีปัญญา มีศีล และมีสมาธิ [๑๑๖] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่ ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด๑- ถวายทานแก่พระสงฆ์ใด จึงมีผลมาก และข้าวของท่านก็ควรถวายพระสงฆ์นั้นจึงจะมีผลมากเช่นนั้น [๑๑๗] ท่านจงนำภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้รับมอบหมายจากพระสงฆ์ ไปยังเรือนของตนแล้ว ถวายสิ่งของที่มีอยู่ในเรือน ซึ่งท่านตระเตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์เถิด [๑๑๘] ข้าพเจ้าได้นำภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้รับมอบหมายจากพระสงฆ์ ไปยังเรือนของตนแล้ว ถวายสิ่งของที่ข้าพเจ้าตระเตรียมไว้ในเรือนแด่ภิกษุสงฆ์ [๑๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๑๒๐] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีวิมานทองเปล่งปลั่งสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ อันกรรมสร้างไว้อย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
ภาณวารที่ ๑๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๓๙/๗๐, ขุ.วิ.อ. ๖๓๘-๖๓๙/๑๗๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๘. สุจินติตเถราปทาน

[๑๒๑] วิมานของข้าพเจ้าเนืองแน่นไปด้วยหมู่เทพนารี ข้าพเจ้ากิน ดื่ม และอยู่ในวิมานนั้นในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๑๒๒] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓,๐๐๐ ชาติ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน [๑๒๓] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ได้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ [๑๒๔] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอและคานหาม ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ [๑๒๕] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะที่มีรสเลิศใหม่ๆ ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ [๑๒๖] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ [๑๒๗] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย และเหล่านารี ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ [๑๒๘] ความหนาว ความร้อนไม่เบียดเบียนข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่มีความเร่าร้อน อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๘. สุจินติตเถราปทาน

[๑๒๙] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ [๑๓๐] บัดนี้ ภพนี้เป็นภพสุดท้าย ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่ แม้ในวันนี้ไทยธรรมของข้าพเจ้า ก็เป็นผลทำให้ข้าพเจ้ายินดีอยู่ทุกเมื่อ [๑๓๑] ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวใหม่ในหมู่พระสงฆ์ ผู้เป็นคณะที่ประเสริฐสูงสุด ย่อมได้รับอานิสงส์ ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ [๑๓๒] คือ (๑) ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่อง (๒) มียศ (๓) มีโภคะมากมายซึ่งใครๆ ก็ลักไปไม่ได้ (๔) มีพรรคพวกมาก (๕) มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ [๑๓๓] (๖) สัตว์ที่อาศัยแผ่นดินทุกจำพวกล้วนยำเกรงข้าพเจ้า (๗) ข้าพเจ้าได้ไทยธรรมก่อนผู้อื่น [๑๓๔] (๘) จะเป็นในท่ามกลางหมู่ภิกษุ หรือเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดก็ตาม พวกทายกจะล่วงเลยท่านเหล่านั้นทั้งหมด มุ่งมาถวายข้าพเจ้าเท่านั้น [๑๓๕] ข้าพเจ้าได้รับอานิสงส์เหล่านี้ เพราะได้ถวายข้าวใหม่ในหมู่พระสงฆ์ ผู้เป็นคณะที่ประเสริฐสูงสุดก่อน นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค]

๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน

[๑๓๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่ [๑๓๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๓๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๑๓๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระสุจินติตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุจินติตเถราปทานที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๔๗-๕๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=33&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=567&Z=626                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=18              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=18&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=18&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap430/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :