ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อัพยากตสังยุตต์
เขมาเถรีสูตร
[๗๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระเขมา- *ภิกษุณีเมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศล เข้าอยู่ ณ ที่โตรณวัตถุ ๑- ในระหว่าง พระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากเมือง สาเกตจะไปยังพระนครสาวัตถี ประทับแรม ๑ ราตรีที่โตรณวัตถุ ระหว่าง พระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกราช- *บุรุษคนหนึ่งมาตรัสสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดูให้รู้ว่า ณ ที่โตรณวัตถุ มีสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่เราจะพึงเข้าไปหา ณ วันนี้หรือไม่ ราชบุรุษนั้นทูล รับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว เที่ยวไปยังโตรณวัตถุจนทั่ว ก็ไม่ได้ พบเห็นสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่พระเจ้าปเสนทิโกศลจะพึงเสด็จเข้าไปหา ฯ [๗๕๓] ราชบุรุษนั้นได้พบพระเขมาภิกษุณี ซึ่งเข้าอาศัยอยู่ ที่โตรณวัตถุ ครั้นพบแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูล พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่โตรณวัตถุ ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ ซึ่งสมควรที่พระองค์จะพึงเสด็จเข้าไปหาเลย มีภิกษุณีนามว่าเขมา เป็นสาวิกาของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระแม่เจ้านั้นมีกิตติศัพท์ อันงามฟุ้งขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระแม่เจ้าเขมาภิกษุณีเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณเป็นอย่างดี ขอเชิญพระองค์ เสด็จเข้าไปหาพระแม่เจ้านั้นเถิด ขอเดชะ ฯ [๗๕๔] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาพระเขมาภิกษุณี ถึงที่อยู่ ทรงไหว้พระเขมาภิกษุณีแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง @๑. โตรณแปลว่าเสาค่าย หรือเสาระเนียค ณ ที่นี้เข้าว่าเป็นค่าย ครั้นแล้วได้ตรัสถามพระเขมาภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดหรือหนอ พระเขมาภิกษุณีถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็น ปัญหาที่พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า ก็สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ฯ ข. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่ เกิดอีกก็มีหรือหนอ ฯ ข. ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม ไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ ข. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์อีกเหมือนกัน ฯ [๗๕๕] ป. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็ เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้า ถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่ เกิดอีกก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ข้าแต่แม่เจ้า อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานี้ ฯ [๗๕๖] ข. ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักขอย้อนถาม มหาบพิตรในปัญหาข้อนี้บ้าง ปัญหาข้อนั้นพอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด มหาบพิตร พึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า ทรายมีประมาณเท่านี้ หรือว่ามีทราย เท่านี้ร้อยเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้พันเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้แสนเม็ด หรือไม่ ฯ ป. ไม่มีเลย แม่เจ้า ฯ ข. และมหาบพิตรมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า น้ำมีเท่านี้อาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้ร้อย อาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้พันอาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้แสนอาฬหกะ หรือไม่ ขอถวายพระพร ฯ ป. ไม่มีเลย แม่เจ้า ฯ ข. นั่นเพราะเหตุไร ขอถวายพระพร ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า เพราะว่ามหาสมุทรเป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่ง ถึงได้โดยยาก ฯ [๗๕๗] ข. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้นอันพระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่ มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกร มหาบพิตร พระตถาคตพ้นจากการบัญญัติว่าเป็นรูป เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด อีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม ไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร เมื่อบุคคลบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยเวทนา ใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด ... เมื่อบุคคลบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น อันพระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรมหาบพิตร พระตถาคตพ้น แล้วจากการบัญญัติว่าเป็นวิญญาณ เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดย ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น คำว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดก็ดี ย่อมไม่ เกิดก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ก็ดี ก็ย่อมไม่ควร ฯ ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดี อนุโมทนาภาษิตของพระเขมา ภิกษุณี เสด็จลุกจากอาสนะ ไหว้พระเขมาภิกษุณีทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จ จากไป ฯ [๗๕๘] สมัยต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหา ที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก หรือ ฯ พ. ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ เหมือนกัน ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อม ไม่เกิดอีกก็มีหรือ ฯ พ. ขอถวายพระพร ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ พ. ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ อีกนั่นแหละ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทูล ถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ หรือ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่ อาตมภาพไม่พยากรณ์อีกนั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุเป็น ปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่พยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ [๗๕๙] พ. ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหา- *บพิตรในปัญหาข้อนั้นบ้าง ปัญหาข้อนั้นพอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด มหาบพิตร พึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะทรง สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรทรงมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนัก ประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาว่า เม็ดทรายมี ประมาณเท่านี้ ฯลฯ หรือว่ามีทรายประมาณเท่านี้แสนเม็ดหรือไม่ ฯ ป. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. และมหาบพิตรทรงมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า มีน้ำเท่านี้อาฬหกะ ฯลฯ หรือว่ามีน้ำ เท่านี้แสนอาฬหกะหรือไม่ ฯ ป. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร มหาบพิตร ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่ามหาสมุทรเป็นของลึกประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๐] พ. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้นอันตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกร- *มหาบพิตร ตถาคตพ้นจากการบัญญัติว่าเป็นรูป เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยากดุจมหาสมุทร ฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วย เวทนาใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้นอันตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาล ยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรมหาบพิตร ตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่าเป็นวิญญาณ เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่ง ถึงได้โดยยาก ดุจมหาสมุทร ฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด อีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร ฯ [๗๖๑] ป. อัศจรรย์จริง พระเจ้าข้า ไม่เคยมี พระเจ้าข้า ในข้อที่ อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดากับของสาวิกา ย่อมเทียบ กันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปหาพระเขมาภิกษุณี ไต่ถามความข้อนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว แม้แม่ เจ้ารูปนั้นก็ได้พยากรณ์ความข้อนี้ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่ข้า- *พระพุทธเจ้า ดุจพระผู้มีพระภาคเหมือนกัน น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดากับ ของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีกรณีย์มาก ถ้ากระไร จึงขอทูลลาไปใน บัดนี้ ฯ พ. ขอถวายพระพร บัดนี้ มหาบพิตรทรงทราบกาลอันสมควรเถิด ครั้ง นั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จ กลับไป ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๙๓๒๘-๙๔๗๕ หน้าที่ ๔๐๓-๔๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=9328&Z=9475&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=282              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=752              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [752-761] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=752&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3815              The Pali Tipitaka in Roman :- [752-761] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=752&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3815              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i752-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn44/sn44.001.than.html https://suttacentral.net/sn44.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn44.1/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :