ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อาวรณานีวรณสูตร
นิวรณ์ ๕ เป็นอุปกิเลสของจิต
[๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม พยาบาท ... ถีนมิทธะ ... อุทธัจจ- *กุกกุจจะ ... วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญา ให้ทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลส ของจิต ทำปัญญาให้ทราม. [๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง ผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่ เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้แล ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ. [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
จบ สูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๒๘๘๓-๒๙๐๒ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=2883&Z=2902&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=19&siri=110              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=490              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [490-492] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=490&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4751              The Pali Tipitaka in Roman :- [490-492] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=490&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4751              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.37/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.38/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.37/en/bodhi https://suttacentral.net/sn46.38/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :