ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
             [๖๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป
สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนฉันใด ฯลฯ
             แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างๆ
ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าวรรค.
จบ คังคาเปยยาลที่ ๙
[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี เท้ามากก็ดี มี ประมาณเท่าใด พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิก สูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร (พึงขยายความอัปปมาทวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)
จบ อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ แห่งโพชฌงคสังยุต
[๖๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำ อยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ ฉันใด.
(พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง)
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุก- *สูตร ๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑ ๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุก สูตร ๑๒. นทีสูตร (พึงขยายความพลกรณียวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)
จบ พลกรณียวรรคที่ ๑๑
[๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การ แสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ (พึงขยายเนื้อความที่กล่าวนี้เป็น ตัวอย่าง)
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนา สูตร ๑๒. ตัณหาสูตร. (เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยอาศัยวิเวก)
จบ เอสนาวรรคที่ ๑๒
โอฆะ ๔
[๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? ได้แก่โอฆะ คือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา (พึงขยายเนื้อความดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง). [๖๗๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วน เบื้องสูง ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนด รู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็น ไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัม- *โพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อม เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นิวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตร
จบ โอฆวรรคที่ ๑๓
แม่น้ำทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างนั้น อย่างละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าวรรค (คังคาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายความด้วยสามารถแห่งราคะ)
จบ วรรคที่ ๑๔
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิก- *สูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร (อัปปมาทวรรค พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)
จบ วรรคที่ ๑๕
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุกกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑ ๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร (พลกรณียวรรคแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)
จบ วรรคที่ ๑๖
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.
จบ เอสนาวรรคแห่งโพชฌงคสังยุตที่ ๑๗
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตร. (โอฆวรรคพึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งการกำจัดราคะเป็นที่สุด การ กำจัดโทสะเป็นที่สุด และการกำจัดโมหะเป็นที่สุด)
จบ วรรคที่ ๑๘
(มรรคสังยุตแม้ใด ขยายเนื้อความให้พิสดารแล้ว โพชฌงคสังยุต แม้นั้น ก็พึง ขยายเนื้อความให้พิสดาร)
จบ โพชฌงคสังยุต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๗๗๙-๓๘๕๘ หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3779&Z=3858&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=19&siri=130              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=672              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [672-677] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=672&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5367              The Pali Tipitaka in Roman :- [672-677] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=672&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5367              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.77-88/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.77-88/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.89-98/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.89-98/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.99-110/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.99-110/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.111-120/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.111-120/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.121-129/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.130/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.131-142/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.143-152/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.153-164/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.165-174/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.175-184/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :