ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. เสขสูตรที่ ๒
[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียมาก ไม่ฉลาดในกิจ น้อยกิจใหญ่ ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมปล่อยให้วันเวลาล่วงไปเพราะการงาน เล็กน้อย ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วย การคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมเข้าไปบ้านในเวลาเช้านัก กลับมาในเวลา สายนัก ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ไม่เป็นผู้ ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก ซึ่งกถาที่เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรม เครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีกิจมาก ไม่มีกรณียมาก ฉลาด ในกิจน้อยกิจใหญ่ ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่ปล่อยให้วันเวลาล่วงไป เพราะการ งานเล็กน้อย ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความ สงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นไปเพื่อความไม่ เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่เข้าไปบ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับ ในเวลาสายนัก ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรมเครื่อง โปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภ- *กถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ไม่ละ การหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบเถรวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. รัชนียสูตร ๒. วีตราคสูตร ๓. กุหกสูตร ๔. อสัทธสูตร ๕. อักขมสูตร ๖. ปฏิสัมภิทาสูตร ๗. สีลสูตร ๘. เถรสูตร ๙. เสขสูตรที่ ๑ ๑๐. เสขสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๖๖๙-๒๗๒๑ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=2669&Z=2721&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=90              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=90              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [90] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=90&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=972              The Pali Tipitaka in Roman :- [90] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=22&item=90&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=972              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i081-e.php#sutta10 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-090.html https://suttacentral.net/an5.90/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :