ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สักกัจจสูตร
[๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความ ปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละ อกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น ท่านคิดเห็นดังนี้ว่าภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัย พระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ... อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ประมาท ... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล ... จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ท่านคิดเห็นอีกว่าธรรม เหล่านี้ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มี พระภาค ธรรมเหล่านี้ของเราจักบริสุทธิ์และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการ อย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำอันบริสุทธิ์ผุดผ่องเขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ ไปแสดงแก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ ไปถึงนายช่างทองเข้าจักบริสุทธิ์ และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับเกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะ พึงละอกุศล เจริญกุศล สักการะ เคารพ อาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ... อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ประมาท ... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้อีกว่า ธรรมเหล่านี้ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่ผู้มี พระภาค ธรรมเหล่านี้ของเราจักบริสุทธิ์และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการ อย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขาจะพึงคิดเห็น อย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้นเราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ ไปแสดงแก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ไปถึงนายช่างทองเข้า จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ดีละ ดีละ ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล สักการะ เคารพ อาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ... อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ ประมาท ... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพ ในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่ เคารพในธรรมด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม จักเคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าไม่ เคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพใน สิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพในสิกขาด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพ ในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่เคารพในสมาธิด้วย ภิกษุ ไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักเคารพใน ความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าไม่เคารพในความไม่ประมาทด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความ ไม่ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพใน พระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่า ไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่า เคารพในธรรมด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม จักไม่เคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าเคารพใน สงฆ์ด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักไม่เคารพในสิกขา ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่า เคารพในสิกขาด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักไม่เคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ใน ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าเคารพในสมาธิด้วย ภิกษุเคารพใน พระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักไม่เคารพในความไม่ ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าเคารพในความไม่ประมาท ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพใน ปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคำที่เรา กล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดีแล้ว ดูกรสารีบุตร ภิกษุไม่เคารพในพระ ศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระ ศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ฯ ดูกรสารีบุตร ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพ ในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่ เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๕๑๒-๒๕๙๒ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=2512&Z=2592&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=67              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=67              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [67] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=23&item=67&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4582              The Pali Tipitaka in Roman :- [67] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=23&item=67&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4582              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an7.70/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :