ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
มหาจุนทสูตร
[๒๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่ชาติวันในแคว้นเจตี ณ ที่ นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลายรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า ย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อม ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึง ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา การอบรม ย่อมกล่าวว่า เรา เป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว มีปัญญาอบรมแล้ว ดัง นี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้าครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะ จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำผู้นี้ ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อม กล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอันอบรม แล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่า โลภะครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะ ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึง ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนยากจน พึงกล่าวอวด ความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ พึงกล่าว อวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ อาจจะนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นคนยากจน ย่อมกล่าวอวดความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ ย่อมกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ ย่อมกล่าวอวดโภคะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้ เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะนำ ทรัพย์ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรม นี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอัน อบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะ ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่ มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำ ท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอัน ชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้น ไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอัน ชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรม นี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุ นั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้รู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มี อายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เราเป็น ผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรม แล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่พึงครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความ ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอัน บุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความ ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อม กล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอัน อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มี แก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำ ท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอัน ชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะ ฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนมั่งคั่ง พึงกล่าวอวดความ มั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ พึงกล่าวอวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจที่จำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น พึงอาจนำเอา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทอง ใช้จ่ายได้ คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้นว่า ท่านผู้นี้ เป็นคนมั่งคั่ง จึงกล่าวความมั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ จึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมี โภคะ จึงกล่าวอวดโภคะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้มีอายุนี้ เมื่อกิจที่จำ ต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอัน อบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความ ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอัน บุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉัน นั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มี อายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๐๖๒-๑๑๕๗ หน้าที่ ๔๗-๕๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=1062&Z=1157&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=24              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=24              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [24] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=24&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7482              The Pali Tipitaka in Roman :- [24] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=24&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7482              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.024.than.html https://suttacentral.net/an10.24/en/sujato https://suttacentral.net/an10.24/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :